หลอดเลือดแดงเล็กในจอตาโป่งพอง | ๑.
โรคแทรกทางตา ที่สำคัญได้แก่ อาการต้อแก้วตา
อาการอักเสบของจอตา หรือเรตินา (retina) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในจอตา
เช่น มีการโป่งพองเล็กๆ ของหลอดเลือดแดงเล็กๆ
ซึ่งการโป่งพองดังกล่าวอาจจะแตกมีเลือดออกได้ อาการอักเสบของเยื่อตาขาว
และม่านตา ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีพังผืดภายในจอตา และจอตาจะแยกออก
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการตาบอดได้ |
๒. โรคแทรกทางระบบประสาท
เช่น โรคประสาทส่วนปลายหลายเส้นอักเสบ โรคประสาทอัตโนมัติ (autonomic)
ผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของการหลั่งเหงื่อ การถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ และความผิดปกติทางเพศ
โรคประสาทเดี่ยวบางเส้นอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสาทสมอง
และประสาทส่วนปลายบางเส้น
เป็นต้น
๓.
โรคแทรกทางผิวหนัง เช่น ผิวหนังอักเสบ
ฝีผิวหนัง และการอักเสบของช่องคลอด เป็นต้น
๔. โรคแทรกทางไต เช่น
มีการอักเสบของไตและกรวยไต กลุ่มอาการเนโฟรทิก (nephrotic synstiel-Wilson
syndrome) เป็นต้น
๕. โรคแทรกทางหลอดเลือด
โรคเบาหวาน จะทำให้มีการกลายเป็นลิ่มของเลือดเร็วกว่าธรรมดา
ทำให้การไหลเวียนของเลือด ไปสู่ส่วนต่างๆ
ของร่างกายช้าอาจจะมีการอุดกั้นได้ เช่น
การอุดกั้นของแขนขา จนถึงมีอาการเนื้อตายเน่า เนื่องจากขาดเลือดเลี้ยง
อาการเนื้อสมองตาย เนื่องจากขาดเลือดเลี้ยง
และอาจมีอาการอุดกั้นของหัวใจ ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น
๖. คีโทอะซิโดซิส และ อาการหมดสติจากเบาหวาน
นับว่า เป็นโรคแทรกที่สำคัญโรคหนึ่งของโรคเบาหวาน
ทำให้มีการสะสม ของกรดคีโทซิส และสารอื่น ซึ่งเกิดขึ้น
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้คาร์โบไฮเดรตได้หมด
เช่น มีการสะสมของกรดแล็กทิก และกรดไพรูวิก
รวมทั้งมีการสะสมของกรดไขมันอื่นๆ ในร่างกายเป็นจำนวนมาก
อาการคีโทอะซิโดซิส และอาการหมดสติ
เนื่องจากเบาหวาน จะถูกกระตุ้นให้เกิดได้เร็วในผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อ
ได้รับภยันตราย หรือที่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง
ผู้ป่วยจะมีอาการซึม จนถึงหมดสติ อาการแห้งน้ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหอบลึก และอาจมีประวัติของการถ่ายปัสสาวะเป็นจำนวนมาก นำมาก่อน
๗.
โรคแทรกอื่นๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความต้านทานต่อเชื้อโรคลดน้อยลง
จึงปรากฏว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะมีอาการติดเชื้อได้ง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัณโรคปอด
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน นอกจากจะอาศัยอาการที่สำคัญแล้ว
ยังจำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องทดลอง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะปรากฏว่า มีกลูโคสในปัสสาวะ
และมีระดับของกลูโคสในเลือดสูงเกินปกติ
ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวาน
แต่การทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดพบว่า ปกติ และไม่พบว่า มีกลูโคสในปัสสาวะ
อาจทำการทดสอบหาความทนต่อกลูโคสได้
ผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติจากเบาหวาน หรือมีภาวะคีโทอะวิโดซิส
จะปรากฏว่า มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก และมีปริมาณของกรดคีโทนในเลือดสูง
(๔+) ด้วย นอกจากนี้ เมื่อตรวจปัสสาวะจะปรากฏว่า มีน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ
๔+ และมีกรดคีโทนในปัสสาวะ ๔+ เช่นเดียวกัน
การรักษาเบาหวานมีหลักที่สำคัญคือ
ต้องควบคุมให้มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
และควบคุมมิให้มีน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ
|
แผนภาพแสดงหลักการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน |
การรักษาเบาหวานในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ที่ไม่มีอาการของโรคแทรกซ้อน
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินปกติ
มักสามารถรักษาเบาหวานได้ โดยการควบคุมอาหารแต่เพียงอย่างเดียว
ถ้าผู้ป่วยให้ความร่วมมือดี
ผู้ป่วยที่อ้วน ก็ควรต้องลดน้ำหนัก ที่มากเกินปกตินั้น ให้มาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อย่างไรก็ดี การรักษาโดยการควบคุมอาหารอย่างเดียวอาจใช้เวลานานถึง ๑
เดือน ก่อนที่จะควบคุมเบาหวานได้ หลักการควบคุมอาหารที่สำคัญ ได้แก่
การให้ผู้ป่วยกินอาหารคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่จำกัด
และปริมาณของแคลอรีที่ขาด อาจทดแทนได้โดยอาหารประเภทโปรตีน
เบาหวานในผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคแทรก
และไม่สามารถ ที่จะควบคุมเบาหวานนั้นได้
โดยการควบคุมอาหารแต่เพียงอย่างเดียว
จำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดกิน ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดฉีด
ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ๒ ประเภท คือ ซัลโฟนีลยูเรีย และไบกัวไนด์
(salfonyl uria, biguanide) |
อินซูลินโปรตีน ที่ใช้ฉีดรักษาโรคเบาหวาน |
เบาหวานในวัยรุ่น
เป็นเบาหวานที่จำเป็นต้องได้รับอินซูลินตลอดเวลา ร่วมกับการควบคุมอาหาร
|
อินซูลิน
เป็นโปรตีนประเภทโพลีเพปไทด์
อินซูลินที่ฉีดในการรักษาเบาหวานเป็นอินซูลิน ซึ่งได้มาจากสัตว์
ซึ่งมีฤทธิ์สามารถลดระดับ ของน้ำตาลในเลือดได้ เช่นเดียวกับอินซูลินในร่างกายของมนุษย์
แต่ในขณะเดียวกันอาจทำให้เกิดการต่อต้านอินซูลิน
เนื่องจากโปรตีนแปลกที่เกิดขึ้นได้
อินซูลินที่นิยมให้ในประเทศไทยมีเพียง ๒ ชนิดคือ อินซูลินชนิดธรรมดา
หรือชนิดละลายได้ ซึ่งออกฤทธิ์สั้น และเอ็นพีเอชอินซูลิน (NPH; neutral
protamine hagedorn insulin) ซึ่งออกฤทธิ์ช้า และอยู่นาน
การรักษาอาการหมดสติ เนื่องจากเบาหวาน หรือภาวะคีโทอะซิโดซิส
การรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ มีหลักการสำคัญ นอกเหนือจาก ผู้ป่วยที่มีอาการหมดสติ
โดยทั่วไป คือ จำเป็นต้องให้อินซูลินประเภทธรรมดาทดแทนในขนาดที่พอเพียง
ให้น้ำให้พอเพียง รักษา หรือป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งมักมีร่วมด้วย
รวมทั้งการรักษาภาวะอิเล็กโทรไลต์ (electrolite) ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โพแทสเซียมในเลือด |