 พระราชวังพญาไท |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จมาประทับ และทรงพระสำราญที่พระราชวังพญาไทในระยะเวลาอันสั้น
หลังจากได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล "คฤหมงคล"
ขึ้นเรือน ใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือน ก็เสด็จสวรรคต |
สมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๕
ได้เสด็จมาประทับ ที่ "พระราชวังพญาไท"
นี้เป็นเวลาถึง ๑๐ ปี จึงได้เสด็จสวรรคตลงใน พ.ศ. ๒๔๖๓ หลังจากนั้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระราชมณเฑียรสถานขึ้นใหม่ เป็นที่ประทับที่พระราชวังพญาไทนี้
โดยรื้อ "ตำหนักพญาไท"
ออกหมด ยกเว้นแต่ท้องพระโรง
สร้างขึ้นเป็นพระที่นั่งหมู่ใหญ่หลายหลังต่อเนื่องกัน
พระที่นั่งหมู่นี้มีชื่อคล้องจอง กันดังต่อไปนี้คือ
พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก แต่เดิมสูง ๒ ชั้น มาต่อเติมเป็น ๓
ชั้นในภายหลัง ใช้เป็นห้องบรรทม และห้องสรง
|
 พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน |
พระที่นั่งพิมานจักรี
เป็นพระที่นั่งองค์ประธาน มีความสูง ๒ ชั้น มียอดโดมสูงสำหรับชักธงมหาราช
ห้องใต้โดมเป็นห้องทรงพระอักษร ห้องโถงกลางเป็นท้องพระโรง
เสด็จออกให้เข้าเฝ้า ภายในตกแต่งแบบยุโรป มีเตาผิง เหนือเตาผิง
มีพระบรมสาทิสลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายใต้วชิรมหามงกุฎ ด้านตะวันออก เป็นห้องบรรทม
ภายในตกแต่งลายเพดานด้วยภาพเขียน เป็นรูปคัมภีร์พระศาสนา แบบจารลงบนใบลาน
ส่วนด้านตะวันตก เป็นที่ประทับของพระมเหสี ที่พระที่นั่งองค์นี้
มีภาพเขียนบนผนังและเพดานทั่วไปหมดทุกห้อง ซึ่งหาดูได้ยาก |
 พระที่นั่งพิมานจักรี |
พระที่นั่งศรีสุทธินิวาศ
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี
มีทางเดินเชื่อมติดต่อกัน ความสูง ๒ ชั้น มีโดมขนาดเล็กตั้งอยู่ตรงมุม
พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่รับรองเจ้านายฝ่ายใน (ผู้หญิง)
ฉะนั้นที่ฝาผนังตอนใกล้เพดาน และที่เพดาน จะเขียนภาพเป็นลายดอกไม้อ่อนหวาน
สมกับเป็นที่ประทับของฝ่ายใน |
 พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ | พระที่นั่งเทวราชสภารมย์
เป็นท้องพระโรงเดิม ครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จมาประทับ
โดยยังปรากฏพระนาม "สผ"
อยู่ตอนบนใกล้หลังคา |
พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เป็นอาคารสูง ๒
ชั้น ไม่มีการตกแต่งฝาผนังและฝ้าเพดาน เช่นพระที่นั่งองค์อื่น
แต่มีลวดลายลูกกรง บันไดทำด้วยเหล็กหล่อ
และตกแต่งฝาผนังด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว เป็นลวดลายตามแบบยุโรป
สันนิษฐานว่า คงจะสร้างขึ้นภายหลัง
นอกจากนั้นยังมีตำหนักเล็กๆ ริมสระน้ำ อยู่หลังหนึ่ง เรียกว่า
ตำหนักเมขลารูจี และยังมีสวนด้านหลังของพระที่นั่งเรียกว่า สวนโรมัน
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวังพญาไทในสมัยรัชกาลที่
๖ ได้แก่ ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตย ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเป็นเมืองจำลองขึ้น
โดยมีพระราชประสงค์ จะทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ที่เมืองนี้มีอาคารทุกอย่างที่ควรมีในเมือง ตั้งแต่ปราสาท ราชวัง วัด
สถานที่ราชการ โรงทหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านค้า ธนาคาร โรงมหรสพ สโมสร
ฯลฯ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารเป็นผู้ดูแลคนละหลัง
พร้อมทั้งมีการปฏิบัติจริงในการเสียภาษี ดูแลความสะอาด
ประกวดประขันกันเป็นอันมาก แต่หลังจากรัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จสวรรคตแล้ว
ดุสิตธานีก็ได้สลายตัวไป |
 สวนดุสิตธานี |
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต
วังพญาไทก็มิได้ใช้เป็นที่ประทับอีกต่อไป รัชกาลที่ ๗ เคยโปรดเกล้าฯ
ให้จัดเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งของพระนครเรียกว่า โรงแรมพญาไท
ต่อมาได้ล้มเลิกไป และจัดเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว
วังพญาไทได้กลายมาเป็นโรงพยาบาลทหาร
และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ใน พ.ศ. ๒๔๙๙ |