การปรุงยาสมุนไพร
หลักการปรุงยา
ในการปรุงยาจากสมุนไพร ผู้ปรุงยาจำเป็นต้องรู้หลักการปรุงยา ๔ ประการคือ
๑. เภสัชวัตถุ
ผู้ปรุงยาต้องรู้จักชื่อ และลักษณะของเภสัชวัตถุทั้ง ๓ จำพวก คือ พืชวัตถุ
สัตววัตถุ และธาตุวัตถุ รวมทั้งรูป สี กลิ่น และรสของเภสัชวัตถุนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น กะเพรา เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มี ๒ ชนิด คือ กะเพราแดง
และกะเพราขาว ใบมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน
หลักของการปรุงยาข้อนี้จำเป็นต้องเรียนรู้จากของจริง
|

ผลจันทน์เทศ เปลือกใช้เป็นเครื่องเทศ รก (ส่วนสีแดงที่หุ้มเมล็ด)
ใช้เป็นเครื่องเทศและยาขับลม |
๒.
สรรพคุณเภสัช
ผู้ปรุงยาต้องรู้จักสรรพคุณของยา ซึ่งสัมพันธ์กับรสของยา
หรือสมุนไพรรสของยาเรียกว่า รสประธาน แบ่งออกเป็น
๑. ยารสเย็น ได้แก่ ยาที่ประกอบด้วยใบไม้ที่มีรสไม่เผ็ดร้อน
เกสรดอกไม้ สัตตเขา (เขาสัตว์ ๗ ชนิด) เนาวเขี้ยว (เขี้ยว ๙ ชนิด)
และของที่เผาเป็นถ่าน ตัวอย่างเช่น ยามหานิล ยามหากาฬ เป็นต้น
ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคหรืออาการผิดปรกติทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) |

ผลสมอไทย ใช้เป็นยาระบาย |
๒. ยารสร้อน ได้แก่ ยาที่นำเอาเบญจกูล ตรีกฎุก
หัสคุณ ขิง
และข่ามาปรุง ตัวอย่างเช่น ยาแผนโบราณที่เรียกว่า ยาเหลืองทั้งหลาย
ยากลุ่มนี้ใช้สำหรับรักษาโรคและอาการผิดปรกติทางวาโยธาตุ (ธาตุลม) |

อบเชย ใช้เปลือกเป็นเครื่องเทศและยาขับลม |
๓.
ยารสสุขุม ได้แก่
ยาที่ผสมด้วย โกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก
ชะลูด อบเชย ขอนดอก และแก่นจันทร์เทศ เป็นต้น ตัวอย่างเช่นยาหอมทั้งหลาย
ยากลุ่มนี้ใช้รักษาความผิดปรกติทางโลหิต
|
นอกจากรสประธานยาดังที่กล่าวนี้
เภสัชวัตถุยังมีรสต่างๆ อีก ๙
รสคือ รสฝาด รสหวาน รสเบื่อเมา รสขม รสมัน รสหอมเย็น รสเค็ม รสเปรี้ยว
และรสเผ็ดร้อน ในตำรายาแผนโบราณบางตำราได้เพิ่มรสจืดอีกรสหนึ่งด้วย
รสของเภสัชวัตถุนี้มีความสัมพันธ์กับสรรพคุณในการรักษาโรค เช่น ยารสฝาด
มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องร่วง ยานี้จึงไม่ควรใช้กับผู้ที่มีอาการท้องผูก
 |
ตำรับยาแก้จุกเสียดและสรรพลม
จารึกอยู่บนแผ่นหินอ่อน ซึ่งฝังอยู่บนผนังระเบียงวิหารพระนอน
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร |
๓. คณาเภสัช
ผู้ปรุงยาต้องรู้จักเครื่องยา ที่ประกอบด้วยเภสัชวัตถุมากกว่า ๑ ชนิด
ที่นำมารวมกันแล้วเรียกเป็นชื่อเดียว ตัวอย่างเช่น
ทเวคันธา
หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๒ ชนิด คือ รากบุนนาค
และรากมะทราง
ตรีสุคนธ์ หมายถึง
เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๓ ชนิด คือ รากอบเชยเทศ รากอบเชยไทย
และรากพิมเสนต้น
ตรีผลา
หมายถึง เครื่องยาที่ประกอบด้วย เภสัชวัตถุ ๓ ชนิด คือ
ผลสมออพยา (สมอไทย) ผลสมอพิเภก และผลมะขามป้อม
จตุกาลธาตุ หมายถึง
เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๔ ชนิดคือ เหง้าว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง
รากแคแตร และรากนมสวรรค์
เบญจกูล หมายถึง
เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๕ ชนิด รากช้าพลู เถาสะค้าน ผลดีปลี
เหง้าขิง และรากเจตมูลเพลิง
สัตตเขา หมายถึง
เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๗ ชนิด คือ เขาควาย เขาเลียงผา เขากวาง
เขาวัว เขากระทิง เขาแพะ และเขาแกะ
เนาวเขี้ยว หมายถึง
เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๙ ชนิด คือ เขี้ยวสุกร เขี้ยวหมี
เขี้ยวเสือ เขี้ยวแรด เขี้ยวช้าง (งา) เขี้ยวสุนัขป่า เขี้ยวปลาพะยูน
เขี้ยวจระเข้ และเขี้ยวเลียงผา
ทศกุลาผล หมายถึง
เครื่องยาที่ประกอบ ด้วยเภสัชวัตถุ ๑๐ ชนิด คือ ผลเร่วทั้งสอง (เร่ว น้อย
เร่วใหญ่) ผลผักชีทั้งสอง (ผักชีลา ผักชี ล้อม) ชะเอมทั้งสอง (รากชะเอมเทศ
รากชะเอม ไทย) ลำพันทั้งสอง (รากลำพันแดง รากรำพัน ขาว) และอบเชยทั้งสอง
(เปลือกอบเชยเทศ เปลือกอบเชยไทย) |

อบเชย |
๔.
เภสัชกรรม
ผู้ปรุงยาต้องรู้จักการปรุงยา ซึ่งมีสิ่งที่ควรปฏิบัติคือ
๔.๑ พิจารณาตัวยาว่าใช้ส่วนไหนของเภสัชวัตถุ เช่น ถ้าเป็นพืชวัตถุ
จะใช้ส่วนเปลือก รากหรือดอก ใช้สดหรือแห้ง ต้องแปรสภาพก่อนหรือไม่
ตัวอย่างสมุนไพรที่ต้องแปรสภาพก่อน ได้แก่ เมล็ดสลอด
เพราะสมุนไพรนี้มีฤทธิ์แรง จึงต้องแปรสภาพ เพื่อลดฤทธิ์เสียก่อน
๔.๒ ดูขนาดของตัวยา ว่าใช้อย่างละเท่าไร
สำหรับมาตราที่ใช้ในการชั่งยา มีดังนี้
นอกจากนี้ยังมีมาตราโบราณ ซึ่งใช้ส่วน ต่างๆ
ของร่างกาย หรือเมล็ดพืชที่เป็นที่รู้จัก คุ้นเคยมาเป็นตัวเทียบขนาด เช่น
คำว่าองคุลี หมาย ถึงขนาดเท่า ๑ ข้อของนิ้วกลาง กล่อมหมายถึง
ขนาดเท่ากับเมล็ดมะกล่ำตาหนู และกล่ำหมายถึง ขนาดเท่ากับเมล็ดมะกล่ำตาช้าง
สำหรับมาตรา ที่ใช้มีดังนี้
นอกจากนี้ยังมีคำว่าหยิบมือ กำมือ และ
กอบมือ ซึ่งปรากฏในสูตรมาตรา ดังนี้
ในตำราไทยจะใช้เครื่องหมายตีนกาใน
การบอกน้ำหนักของตัวยาแต่ละชนิดดังนี้
ตัวอย่างเช่น ถ้าเขียนว่า
หมายถึงต้องการตัวยานั้นหนัก ๑ ตำลึง ๒ บาท
๑ สลึง
วิธีการปรุงยา
ตำรายาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิธีปรุงยาไว้ ๒๔ วิธี
แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ ๒๕ คือ วิธีกวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วย
ในจำนวนวิธีปรุงยาเหล่านี้ มีผู้อธิบายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช้บ่อยๆ
ไว้ดังนี้คือ
ยาต้ม
การเตรียม
ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ ๑ กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลม
ยาวขนาด ๑ ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง
นำมาขดมัดไม่ได้ ให้หั่นเป็นท่อนยาว ๕-๖ นิ้วฟุต กว้าง ๑/๒ นิ้ว ฟุต
แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด ๑ กำมือ
การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย
(ประมาณ ๓-๔ แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง ๑ หยิบมือ
ให้เทน้ำลงไป ๑ แก้ว (ประมาณ ๒๕๐ มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๓๐ นาที
แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้น หรือเจือจาง
ยาต้มนี้ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ |

เครื่องชั่ง |
ยาชง
การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง
โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง
ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม
การชง ใช้สมุนไพร
๑ ส่วน เติมน้ำเดือดลง ไป ๑๐ ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ ๑๕-๒๐ นาที
ยาดอง
การเตรียม
ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แตกพอหยาบๆ
ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวม ๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ
การดอง
เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ ๗ วัน
ยาปั้นลูกกลอน
การเตรียม หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ
ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่ เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย |