อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 14
เล่มที่ ๑๔
เรื่องที่ ๑ พระราชวัง ในกรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๒ พระราชวัง ในส่วนภูมิภาค
เรื่องที่ ๓ ประติมากรรมไทย
เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์
เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์
เรื่องที่ ๖ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
เรื่องที่ ๗ ข้าวฟ่าง
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร
เรื่องที่ ๑๐ สมุนไพร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๔ / เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์ / อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ

 อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ
อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ

อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อนี้ บางทีเรียกว่า อัตราการแลกเนื้อ หมายความว่า ในการเจริญเติบโต หรือเพิ่มน้ำหนักตัวของสัตว์ ๑ กิโลกรัม จะต้องใช้อาหารกี่กิโลกรัม ยิ่งใช้อาหารน้อย แต่ได้เนื้อมาก แสดงว่า อาหารนั้นมีคุณภาพดี ในกรณีสุกรขุน ควรมีอัตราแลกเนื้อ ๑:๒.๕ ในกรณีของไก่ ควรมีประมาณ ๑:๒
การวัดค่าพลังงานในอาหารสัตว์ด้วยเครื่องบอมบ์แคลอรีมิเตอร์
การวัดค่าพลังงานในอาหารสัตว์ด้วยเครื่องบอมบ์แคลอรีมิเตอร์
ระยะเวลาในการขุนสัตว์

ระยะเวลาในการขุนสัตว์ หมายถึง จำนวนวันที่ใช้อาหารเลี้ยงสัตว์ จนสัตว์โตได้น้ำหนักที่ต้องการ เช่น ใช้อาหารสูตรหนึ่งเลี้ยงสุกร ต้องเลี้ยงนานกี่วัน จึงจะได้น้ำหนักสุกร ๙๐ กิโลกรัม น้ำหนัก ๙๐ กิโลกรัม เป็นกำหนดที่สุกรขุนโตได้ที่ สำหรับส่งขายตลาด ถ้าน้ำหนักมากกว่านี้จะเปลืองอาหารมากขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น อาหารสูตรใดที่ใช้เวลาสั้นกว่า ถือว่า อาหารสูตรนั้นมีคุณภาพดี เช่น การขุนสุกรเพื่อขาย การใช้เวลาขุนเพียง ๑๒๐ วัน จะดีกว่าการขุนนาน ๑๔๐ วัน
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป