สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 14
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๔ / เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์ / พันธุ์พืชอาหารสัตว์พันธุ์พื้นเมือง
พันธุ์พืชอาหารสัตว์พันธุ์พื้นเมือง
พันธุ์พืชอาหารสัตว์พันธุ์พื้นเมือง
พืชอาหารสัตว์ประเภทนี้
ส่วนใหญ่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เกษตรกรไม่ได้ปลูกหรือบำรุงรักษา
แต่จะไล่ต้อนสัตว์ไปแทะเล็มทั่วๆ ไป ตามที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะชายป่า
ริมถนน และคันนา เป็นต้น พันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่เป็นประโยชน์ คือ |
หญ้าเพ็ก |
๑. หญ้าเพ็ก (Arundinaria pusilla)
บางทีเรียกว่า ไผ่เพ็ก เป็นหญ้าในกลุ่มไผ่อายุค้างปี หรือหลายปี กอตั้งชัน
สูง ๖๐-๘๐ เซนติเมตร ลำต้นแข็ง
ในช่วงต้นฤดูฝนใบอ่อนเป็นอาหารโคกระบือได้ดี
เป็นหญ้าหลัก ของโคกระบือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบขึ้นทั่วไปในดินร่วนปนทราย ในที่ดอน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และพบขึ้นเป็นพืชชั้นล่างในป่าโปร่ง ใบหญ้าที่เก็บในช่วงฤดูต้นฤดูฝน
มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ ความชื้น ๗.๙ เถ้า ๙.๑ โปรตีน ๑๐.๔ กาก
๒๖.๐ แป้ง ๔๔.๓ และไขมัน ๒.๕
ค่าการย่อยได้ โดยคิดเป็นค่าอินทรียวัตถุที่ย่อยได้ร้อยละ ๕๑.๗ |
๒.
หญ้าแฝก หรือหญ้ากลม
(Themeda triandra)
เป็นหญ้าอายุหลายปี กอสูง ๘๐-๑๑๐ เซนติเมตร ใบเล็กเรียวยาว
เมื่อแก่มีดอกสีน้ำตาลแดง พบขึ้นเป็นทุ่งใหญ่ ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
ลพบุรี
นอกจากนั้นพบประปรายเป็นหย่อมเล็กๆ ตามริมถนน
ชายป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบนครราชสีมา ชัยภูมิ
เป็นพืชอาหารสัตว์คุณภาพปานกลาง โคกระบือชอบกิน ทางราชการทหาร
และกรมปศุสัตว์ เคยใช้เป็นหญ้าหลักของโคกระบือ
ก่อนที่จะนำหญ้าพันธุ์ดีเข้ามาทดแทน
หญ้าในระยะมีดอกมีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๑๐.๐ โปรตีน
๔.๗ ไขมัน ๑.๒ กาก ๓๑.๑ แป้ง ๕๑.๘ และเถ้า ๐.๙
๓.
หญ้าหนวดฤาษีหรือหญ้าหนวดเสือ (Heteropogon contortus)
เป็นหญ้าอายุหลายปี กอสูง ๖๐-๗๐ เซนติเมตร ใบเรียวยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตร
กว้าง ๐.๔-๐.๖ เซนติเมตร ช่อดอกมีขนแหลมเป็นเสี้ยนยาวสีดำ
เมื่อแก่จัดขนเหล่านี้ จะพันกันเป็นกระจุก พบขึ้นในที่ดอน
ขึ้นปนในป่าไม้เต็ง ขึ้นเป็นทุ่งใหญ่ในบางอำเภอของจังหวัดลำปาง
ต่อลงไปจนถึงจังหวัดตาก และบางพื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรี
นอกจากนั้นพบประปรายตามริมชายป่า ริมถนนในบางท้องที่ โคชอบกิน
ชาวบ้านใกล้เคียงเผาทุ่งหญ้า
และเมื่อฝนตกหญ้าแตกใบอ่อนเป็นอาหารโคกระบืออย่างดี
คุณค่าอาหารเมื่อหญ้าอยู่ในระยะมีดอก คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๑๓.๖
โปรตีน ๓.๕ ไขมัน ๑.๑ กาก ๓๔.๗ แป้ง ๔๐.๔ และเถ้า ๖.๖
๔. หญ้าพุ่งชู้ (Chrysopogon orientalis)
ชาวบ้านเรียกว่า หญ้าเจ้าชูยักษ์ เป็นหญ้าอายุหลายปี กอสูงประมาณ ๘๐-๙๐
เซนติเมตร ลำต้นแข็ง ใบขึ้นเป็นกระจุกตรงผิวดิน ใบยาวประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร
เรียวเล็ก กว้างประมาณ ๐.๔ เซนติเมตร ระบบรากยาวแข็งแรง
พบขึ้นเป็นทุ่งปกคลุมในดินชุดบ้านทอน และบาเจาะ ในจังหวัดนราธิวาส
ซึ่งเป็นดินเลว ความอุดมต่ำ บริเวณพื้นที่ริมทะเล
และที่ดินทรายร่วนบางแห่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา
ตลอดจนถึงฝั่งมาเลเซีย โคกระบือชอบกินหญ้าชนิดนี้
หญ้าพุ่งชู้เป็นหญ้าที่ทนการแทะเล็มเหยียบย่ำดีมาก
มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๘.๕ โปรตีน ๔.๒ ไขมัน ๑.๔ กาก
๒๙.๘ เถ้า ๘.๒ และแป้ง ๔๗.๗ |
หญ้าพุ่งชู้หรือหญ้าเจ้าชู้ยักษ์ | ๕. หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium)
เป็นหญ้าฤดูเดียว แตกเถ้าเลื้อยบนผิวดิน ต้นอวบน้ำ สูงไม่เกิน ๔๐
เซนติเมตร ใบยาวประมาณ ๔-๕ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร
ช่อดอกเป็นแฉกๆ คล้ายตีนไก่ โตเร็ว ชอบดินร่วนปนทราย ขึ้นในที่ดอน
พบเป็นวัชพืชในไร่มันสำปะหลังและอื่นๆ ติดเมล็ดมาก
โตเร็วมีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๗.๗ โปรตีน ๘.๙ ไขมัน
๒.๒ กาก ๒๒.๔ แป้ง ๔๓.๙ และแร่ธาตุ ๑๔.๖
๖.
หญ้าในกลุ่มหญ้าดอกรัก
(Eragrostis spp.)
มีหลายพันธุ์ทั้งอายุปีเดียว เช่น หญ้าหางกระรอก และอายุหลายปี เช่น
หญ้าโกรก เป็นหญ้ากอเตี้ย สูง ๑๐-๒๐ เซนติเมตร ใบเล็ก ติดเมล็ดดีมาก
พบขึ้นอยู่ทั่วไปในที่ดอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อฝนเริ่มตกในช่วงต้นฤดูฝน หญ้าพวกนี้จะงอกและเติบโตเร็วมาก
ทำให้โคกระบือได้อาหารรวดเร็วในช่วงดังกล่าว |
๗. หญ้าขน
(Brachiaria mutica)
เป็นหญ้าอายุหลายปี มีเถาเลื้อย ลำต้นกลวง อวบน้ำใบขนาดกลาง ยาว ๕-๘
เซนติเมตร กว้าง ๐.๘-๑.๒ เซนติเมตร มีขนขาวๆ ปกคลุมกาบใบ และแผ่นหลังใบ
ชอบขึ้นในที่ริมน้ำ เช่น หนองน้ำ คูร่องสวน
เป็นหญ้ากลุ่มเดียวกับหญ้ามอริชัส แต่หญ้ามอริชัสขึ้นในที่ดอนได้ดีกว่า
มีขนปกคลุมมากกว่า โคกระบือชอบกิน ใช้เลี้ยงไก่ และสุกรได้ด้วย
โดยให้กินเสริมกับอาหารข้น ไม่ทนต่อการเหยียบย่ำของโค
มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มีความชื้น ๑๐.๐ โปรตีน ๙.๕ ไขมัน ๓.๔
กาก ๒๗.๙ แป้ง ๓๖.๖ และแร่ธาตุ ๑๓.๐ |
หญ้าขน |
๘. หญ้าข้าวนก (Echinochloa colonum)
บางแห่งเรียกว่า หญ้านกสีชมพู ลำต้น และช่อดอกสีม่วงดำ เป็นหญ้าฤดูเดียว
ต้นเตี้ยสูงไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ
ชอบขึ้นในที่ที่มีน้ำขังทุ่งนา โคกระบือชอบกิน
มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๗.๔ โปรตีน ๙.๘ ไขมัน ๒.๔ กาก
๒๓.๓ แป้ง ๔๒.๓ และแร่ธาตุ ๑๔.๘
๙. หญ้าชัดกาด (Panicum repense)
เป็นหญ้าอายุหลายปี ต้นเตี้ยประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำ มีใบน้อย
และใบสั้น มีเหง้าเป็นส่วนแพร่พันธุ์ ขึ้นได้ ในดินร่วนปนทราย ในที่ดอน
และในที่ลุ่มน้ำขัง ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว โคกระบือชอบกิน
ทนต่อการแทะเล็มเหยียบย่ำ พบทั่วทุกภาค
ที่พบเป็นทุ่งใหญ่อยู่ในบริเวณดินพรุจังหวัดนราธิวาส
มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๙.๑ โปรตีน ๕.๗ ไขมัน ๑.๖ กาก
๒๗.๓ แป้ง ๕๐.๑ และแร่ธาตุ ๕.๘
๑๐. หญ้าข้าวผี (Oryza rufipogon)
เป็นพืชในกลุ่มข้าว แต่ที่เมล็ดข้าวเปลือกมีเสี้ยนโผล่ยาวมาก
เป็นหญ้าฤดูเดียว ชอบขึ้นในที่ที่มีน้ำขัง ต้นเล็กกว่าต้นข้าว
โคกระบือชอบกิน มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๔.๑ โปรตีน ๙.๑
ไขมัน ๑.๕ กาก ๓๒.๖ แป้ง ๔๐.๕ แร่ธาตุ ๑๒.๐ และค่าอินทรียวัตถุย่อยได้
๕๕.๔
๑๑. หญ้าปล้อง (Hymenachne myuros)
เป็นหญ้าอายุหลายปี ชอบขึ้นในที่มีน้ำขังลำต้นกลวง แผ่เถาตามผิวน้ำ อวบน้ำ
ใบเกลี้ยงยาว ๕-๘ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๒ เซนติเมตร พบขึ้นทั่วทุกภาค
พบเป็นทุ่งใหญ่ในบริเวณดินพรุ ทุ่งมูโนะ จังหวัดนราธิวาส โคกระบือชอบกิน
มีคุณค่าอาหาร คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ ความชื้น ๕.๐ โปรตีน ๗.๗ ไขมัน ๑.๒ กาก
๓๓.๖ แป้ง ๔๔.๘ แร่ธาตุ ๗.๔ และค่าอินทรียวัตถุที่ย่อยได้ ๕๒.๕
ชาวบ้านใช้ทุ่งมูโนะนี้ เป็นที่เลี้ยงโคกระบือ | หญ้าปล้อง | ๑๒. หญ้าหวาย (Ischaemum aristatum)
เป็นหญ้าอายุหลายปี ชอบขึ้นในที่มีน้ำ ทุ่งนาริมหนองบึง แหล่งดินเปรี้ยว
เป็นหญ้ากอเตี้ย สูง ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ใบเล็ก ยาวประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร กว้าง
๑-๑.๕ เซนติเมตร ช่อดอกเป็นแฉก ๒ แฉก
แต่มักแนบติดกันทำให้ดูเป็นเพียงแฉกเดียว
ปลายเมล็ดมีเสี้ยนโผล่ยาวคล้ายขนแข็งๆ กระบือชอบกินมากกว่าโค
ในหญ้าที่มีดอก มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๘.๑ โปรตีน ๓.๔
ไขมัน ๑.๘ กาก ๓๒.๕ และแร่ธาตุ ๙.๕ |
หญ้าข่มคา |
๑๓. หญ้าข่มคา (Microstegium ciliatum)
เป็นหญ้าอายุหลายปี ชอบขึ้นในที่ร่มตามสวนไม้ผล สวนยางพารา
ในที่ที่มีฝนตกชุก พบมากทางภาคใต้ ลำต้นเล็ก สูงไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร
เป็นเถาคลุมพืชต้นเตี้ยอื่นๆ เช่น หญ้าคา ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หญ้าข่มคา"
ใบยาวประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร บริเวณฐานใบกว้างประมาณ ๔ เซนติเมตร
ลักษณะใบคล้ายใบไผ่ ช่อดอกมีลักษณะเป็นแฉก โคกระบือชอบกิน
ไม่ทนต่อการเหยียบย่ำแทะเล็ม มีคุณค่าอาหาร คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น
๑๐.๔ โปรตีน ๗.๗ กาก ๒๕.๔ ไขมัน ๑.๑ แป้ง ๔๗.๐ และแร่ธาตุ ๘.๓ |
๑๔. หญ้าเห็บ (Paspalum conjugatum)
เป็นหญ้าอายุหลายปี ต้นเตี้ยเป็นเถาเลื้อยคลุมดิน ต้นสูงไม่เกิน ๓๕
เซนติเมตร ชอบขึ้นในที่ร่มตามสวนไม้ผล เช่นเดียวกับหญ้าข่มคา
ช่อดอกมีสองแฉก โคกระบือชอบกิน มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น
๙.๙ โปรตีน ๗.๒ ไขมัน ๑.๕ กาก ๒๔.๓ แป้ง ๔๗.๖ และ แร่ธาตุ ๙.๒
๑๕. หญ้าใบมัน (Axonopus compressus)
บางทีเรียกว่า หญ้ามาเลเซีย ในสภาพธรรมชาติ ชอบขึ้นในที่ร่มเงาตามสวนไม้ผล
และป่าไม้โปร่ง ที่มีฝนตกชุก เป็นหญ้าประเภทอายุหลายปี ต้นเตี้ยชิดดิน
ใบยาวประมาณ ๘-๑๐ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๕ เซนติเมตร ทนแดดดีกว่าหญ้าข่มคา
และหญ้าเห็บ เป็นหญ้าพันธุ์หนึ่ง ที่ใช้ปลูกทำสนามหญ้าได้ดี
โคกระบือไม่ชอบกินเท่าหญ้าข่มคา มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้
ความชื้น ๑๐.๖ โปรตีน ๖.๘ ไขมัน ๑.๐ กาก ๒๔.๓ แป้ง ๔๗.๘ แร่ธาตุ ๙.๒
๑๖. ถั่วลิสงนา (Alysicarpus Vaginalis)
เป็นถั่วอายุฤดูเดียว พุ่มเตี้ย ต้นสูงไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร ใบมน
โคนใบแคบกว่าส่วนปลายใบยาว ๒-๓ เซนติเมตร กว้างสุด ๑.๕-๒ เซนติเมตร
พบขึ้นในทุกภาคของประเทศ เจริญดีในดินร่วนปนทราย โคกระบือชอบกิน
มีคุณค่าอาหารคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๘.๘ โปรตีน ๑๕.๕ ไขมัน ๒.๔ กาก
๒๗.๑ แป้ง ๓๕.๑ และแร่ธาตุ ๑๑.๐ |
กระถินพื้นเมือง | ๑๗. กระถินพื้นเมือง (Leucaena leucocephala)
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว สูง ๒.๕-๔ เมตร แตกกิ่งก้านมากกว่ากระถินยักษ์
ใบเป็นแบบใบรวม แผ่นใบเป็นแผ่นเล็กๆ ยาว ๑-๑.๒ เซนติเมตร กว้าง ๐.๔-๐.๕
เซนติเมตร ช่อดอกเป็นกระจุกคล้ายเม็ดกระดุม ใบเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
วิตามิน ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทุกชนิด โดยใช้ใบสด หรือใบกระถินป่น ในอาหารไก่
และสุกร ใช้ประมาณ ร้อยละ ๕ ของส่วนผสมทั้งหมด โดยใช้ใบกระถินแห้ง
หรือกระถินป่น ส่วนโคให้กินได้มากถึงร้อยละ ๔๐-๕๐
โดยใช้ใบแห้งหรือใบสดก็ได้ การใช้ประโยชน์มีข้อจำกัด ทั้งนี้เพราะว่า
มีสารพิษ "มิมโมซีน"
ถ้าสัตว์กินมาก จะทำให้ขนร่วง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
โดยเฉลี่ยมีสารมิมโมซีนประมาณ ๓๓.๕ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม
ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้เลี้ยงสัตว์โดยระมัดระวัง กล่าวคือ
ให้กินในปริมาณที่กล่าวข้างต้น จะให้ประโยชน์มาก
เป็นพืชอาหารสัตว์สุขภาพดีพันธุ์หนึ่ง มีโปรตีนสูงมาก
ใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนในโคกระบือ
ในกรณีที่โคกระบือได้รับอาหารเสริมโปรตีนคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว ยอดอ้อย
คุณค่าอาหารของกระถินพื้นเมือง คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๑๐.๐ โปรตีน
๒๓.๕ ไขมัน ๗.๗ กาก ๗.๗ แป้ง ๕๑.๓ และแร่ธาตุ ๙.๗
สำหรับสารมิมโมซีนลดลงได้ โดยการนำใบกระถินออกผึ่งแดด ๑-๒ วัน
ในประเทศออสเตรเลีย มีการวิจัยพบว่า ในกระเพาะของโคที่เลี้ยง
ในมลรัฐฮาวายของประเทศสหรัฐอเมริกา
มีบัคเตรีบางชนิด สามารถทำลายสารดังกล่าว ลดพิษของใบกระถินลงได้
ประเทศไทยผลิตใบกระถินป่น ปีละประมาณ ๗๐,๐๐๐ ตัน
แหล่งผลิตมากอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม สระบุรี และลพบุรี
ปัจจุบันได้มีการนำเอาพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาหลายพันธุ์ ต้นโตเร็ว ใบดก
เช่น พันธุ์ไอวอรีโคสต์ พันธุ์เอลซัลวาดอร์ ชาวบ้านเรียกว่า กระถินยักษ์
ใช้ปลูก เพื่อเอาไม้ทำเครื่องใช้ ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี
คุณค่าอาหารสัตว์ของกระถินยักษ์ พันธุ์ไอวอรีโคสต์จากท้องที่อำเภอปากช่อง
คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๑๐.๕ โปรตีน ๒๒.๙ ไขมัน ๘.๖ กาก ๗.๒ แป้ง
๔๐.๑ และแร่ธาตุ ๑๐.๕ | ๑๘. ถั่วคนทิดิน (Desmodium ovalifolium)
เป็นถั่วประเภทเถาแผ่คลุมดิน พบมากในที่ร่มเงาแดดรำไร สวนยางพารา
และริมป่าในภาคใต้ อายุหลายปี ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ดอกเป็นช่อคล้ายก้านกรวย
ขนาดยาว ๘-๑๐ เซนติเมตร ส่วนฐานกรวยกว้างประมาณ ๓ เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วง
โคไม่ชอบกินเท่าถั่วลาย ติดเมล็ดน้อยใช้ปลูกปนหญ้าทำทุ่งปล่อยโคแทะเล็ม
โดยปลูกปนกับหญ้ากินนี หรือหญ้ามอริชัส
คุณค่าอาหารจากตัวอย่างพืชที่จังหวัดนราธิวาสคิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น
๘.๕ โปรตีน ๑๓.๔ ไขมัน ๒.๙ กาก ๒๗.๑ แป้ง ๓๙.๖ และแร่ธาตุ ๘.๓ |
|