หญ้าก้วเตมาลา |
๑๒. หญ้ากัวเตมาลา (Tripsacum laxum)
เป็นหญ้าประเภทอายุหลายปี
กอใหญ่ ใบดก ใบแตกชิดดิน ไม่มีลำต้นเด่นชัด ใบยาวใหญ่เท่าใบข้าวโพด
มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เรานำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๙๖ โคกระบือชอบกิน
เหมาะสำหรับปลูก เพื่อตัดเลี้ยงสัตว์ ไม่ทนต่อการแทะเล็มเหยียบย่ำ
ขึ้นได้ดีในที่ดอน เชิงเขา แต่ปรับตัวกับที่ลุ่มได้พอสมควร ไม่ติดเมล็ด
ขยายพันธุ์โดยหน่อ ปลูกชำห่างกันหลุมละ ๖๐-๗๐ เซนติเมตร
คุณค่าอาหารจากตัวอย่างหญ้าในจังหวัดชุมพร คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น
๑๐.๕ โปรตีน ๗.๑ ไขมัน ๑.๔ กาก ๒๖.๐ แป้ง ๔๘.๐ และแร่ธาตุ ๖.๗ |
๑๓.
หญ้าปลิแคตูลัม
(Paspalum plicatulum)
เป็นหญ้าประเภทอายุหลายปี
แตกกอคล้ายกอตะไคร้ แต่ต้นเตี้ยกว่า ใบตั้งตรง เล็กกว่าใบตะไคร้
ช่อดอกมีกิ่งย่อยเรียงเป็น ๒ แฉกมีแหล่งดั้งเดิมในทวีปอเมริกาใต้
เรานำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗
ขึ้นได้ดีทั้งในที่ดอนและที่ลุ่ม ติดเมล็ดดีมาก
แต่โคชอบกินน้อยกว่าหญ้าอื่น คุณค่าอาหารจากตัวอย่างหญ้าในอำเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๙.๒ โปรตีน ๗.๗ ไขมัน ๑.๖
กาก ๒๖.๑ แป้ง ๔๗.๘ และแร่ธาตุ ๗.๓
|
หญ้าปลิแคตูลัม |
๑๔.
หญ้าแพนโกลา
(Digitaria decumbens)
เป็นหญ้าอายุหลายปี
มีเถาเลื้อยคลุมดิน ต้นสูงประมาณ ๓๕ เซนติเมตร ใบดก ยาว ๑๒-๑๖ เซนติเมตร
กว้าง ๐.๔-๐.๕ มิลลิเมตร แตกรากตามข้อ ทำให้แพร่คลุมดินอย่างหนาแน่น
เหมาะสำหรับปลูกทำทุ่งปล่อยสัตว์แทะเล็ม และอนุรักษ์ดินหรือตัดทำหญ้าแห้ง
โคชอบกิน ไม่ติดเมล็ด ใช้เถาขยายพันธุ์ โดยปลูกห่างกันหลุมละ ๓๐-๔๐
เซนติเมตร ชอบขึ้นในที่ดอน ดินอุดมมีแหล่งดั้งเดิม ในทวีปอเมริกาใต้
เรานำเข้าประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖
คุณค่าอาหารจากตัวอย่างหญ้าในจังหวัดมหาสารคาม คิดเป็นร้อยละ ดังนี้
ความชื้น ๙.๒ โปรตีน ๕.๖ ไขมัน ๒.๒ กาก ๒๖.๕ แป้ง ๔๘.๐ และแร่ธาตุ ๘.๑ |
หญ้าไข่มุก
|
นอกจากนั้นยังได้นำพันธุ์หญ้าพันธุ์ใหม่ๆ
ซึ่งได้รับการผสมและปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณภาพดี เข้ามาทุกปี
เพื่อใช้กับโคนม เช่น หญ้าไข่มุก (Pennisetum americanum)
จากสหรัฐอเมริกา เป็นหญ้ากอสูงใบใหญ่ คุณค่าอาหารสูง อายุปีเดียวหญ้าจัมโบ
เป็นหญ้าลูกผสม ในกลุ่มหญ้าซอกัม นำเข้ามาจากออสเตรเลีย
ต้นสูงคล้ายข้าวฟ่าง
แต่ใบและต้นเล็กกว่า และอายุเพียง ๒ ปี แต่ทั้ง ๒ ชนิด ติดเมล็ดดีมาก
ปลูกง่าย มีข้อเสีย ที่ต้องปลูกซ้ำทุกปี
|
ต้นข้าวโพด ก็ใช้ปลูกตัดเลี้ยงโคได้ดี คุณค่า
อาหารสูง ย่อยได้ดี
ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในแถบจังหวัดราชบุรี สระบุรี และเชียงใหม่
ใช้ต้นและเศษต้นข้าวโพดฝักอ่อนเลี้ยงโคนม โดยเกษตรกรปลูกเอง
หรือรับซื้อจากผู้ปลูกอื่นๆ ที่ปลูกข้าวโพด
เพื่อจำหน่ายฝักอ่อนแก่โรงงานข้าวโพดกระป๋อง
๒. พืชอาหารสัตว์ในวงศ์ถั่ว
มีทั้ง พันธุ์ไม้ล้มลุก
และไม้ยืนต้น เป็นแหล่งอาหาร โปรตีน และบำรุงดิน
มีพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ใช้ใน การปลูกทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดังนี้
๑. ถั่วลาย
(Centrosema pubescens)
เป็นถั่วประเภทเลื้อย อายุหลายปี
มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
เรานำเข้ามาใช้ปลูกคลุมดินในสวนยางไม่ต่ำกว่า ๕๐ ปีมาแล้ว
ใบเป็นแบบใบรวมมี ๓ ใบย่อย เถาเลื้อยคลุมดินหรือพันต้นพืชอื่นแบบเถาวัลย์
กลีบดอกสีม่วงเป็นช่อ ช่อละ ๔-๘ ดอก ชอบขึ้นในแหล่งฝนตกชุก เช่น ภาคใต้
แต่ปรับตัวได้กับสภาพฝนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทนร่มเงา
จึงใช้ปลูกทำทุ่งหญ้าในสวนไม้ผล และสวนมะพร้าวได้ดี ใช้ปลูกปนกับหญ้าต่างๆ
ได้หลายชนิด การปลูกใช้เมล็ดในอัตรา ๒ กิโลกรัมต่อไร่
และควรใช้เชื้อไรโซเลียมคลุกเมล็ดก่อนปลูก
เชื้อดังกล่าวช่วยในการตรึงธาตุไนโตรเจน
ทำให้ถั่วงอกงาม กรมวิชาการเกษตรผลิตเชื้อไรโซเลียมจำหน่ายแก่เกษตรกร
คุณค่าอาหารของถั่วลายจากตัวอย่างในจังหวัดสตูลคิดเป็นร้อยละดังนี้
ความชื้น ๘.๙ โปรตีน ๑๔.๑ ไขมัน ๒.๐ กาก ๓๐.๓ แป้ง ๓๗.๘ และแร่ธาตุ ๖.๗
|
ถั่วลาย
แสดงปมราก ซึ่งมีเชื้อบัคเตรี ไรโซเบียม ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
ให้เป็นปุ๋ย ทำให้ถั่วเจริญงอกงาม |
๒. ถั่วฮามาตา (Stylosanthes hamata)
บางแห่งเรียกว่า ถั่วเวอราโน อายุ ๑-๒ ปี เป็นถั่วพุ่มเตี้ย สูงประมาณ
๓๐-๔๐ เซนติเมตร ใบเป็นแบบใบรวมมีใบย่อย ๓ ใบ ขนาดของใบย่อยยาว ๒.๕-๓
เซนติเมตร กว้าง ๐.๔-๐.๕ เซนติเมตร ดอกรวมเป็นกระจุกสีเหลือง
เมล็ดมีส่วนยื่นโผล่แบบตะขอ มีแหล่งดั้งเดิมในทวีปอเมริกากลาง
เรานำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ โคกระบือชอบกิน
ชอบขึ้นในที่ดอน ดินร่วนปนทราย ทนการแทะเล็มเหยียบย่ำ ติดเมล็ดดีมาก
เหมาะกับสภาพดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกเขตดินเค็ม
ปัจจุบันใช้ถั่วชนิดนี้หว่านทางอากาศ เพื่อปรับปรุงทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ
การปลูกใช้เมล็ดในอัตรา ๒ กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกควรใช้น้ำร้อนแช่เมล็ด
โดยใช้น้ำร้อน ๘๐ องศาเซลเซียส แช่นาน ๕-๘ นาที จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น
คุณค่าอาหารจากถั่วที่ได้จากท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๑๐.๔ โปรตีน ๑๔.๖ ไขมัน ๒.๑ กาก ๒๖.๖ แป้ง
๓๗.๗ และแร่ธาตุ ๘.๔ |
ถั่วฮามาตา |
๓.
ถั่วสไตโล
(Stylosanthes guianensis)
มีพันธุ์ต่างๆ คือ พันธุ์สโคฟิล พันธุ์เอนเดเวอร์ และพันธุ์เกรแฮมหรือแกรม
เป็นถั่วอายุหลายปี พุ่มเตี้ย สูงประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ใบเป็นแบบรวม
มีใบย่อย ๓ ใบ ขนาดยาว ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร กว้าง ๐.๖-๐.๙ เซนติเมตร
ดอกรวมเป็นกระจุกสีเหลือง
ไม่มีส่วนยื่นเป็นตะขอเหมือนกับของเมล็ดถั่วฮามาตา
มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบทะเลแคริบเบียน
เรานำเข้ามาจากฮ่องกง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒
ส่วนพันธุ์แกรมนำเข้ามาจากออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ขึ้นได้ดีในที่ดอน
ดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับท้องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โคชอบกินน้อยกว่าถั่วลายและถั่วฮามาตา แต่ในช่วงปลายฝนหญ้าสดขาดแคลน
โคชอบกินเช่นกัน ติดเมล็ดได้ดีใช้เมล็ดปลูกในอัตรา ๑.๕ กิโลกรัมต่อไร่
ปลูกปนกับหญ้ากินนีและหญ้าซิกแนล
คุณค่าอาหารจากตัวอย่างหญ้าที่จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นร้อยละดังนี้
ความชื้น ๘.๔ โปรตีน ๑๖.๘ ไขมัน ๓.๗ กาก ๑๙.๘ แป้ง ๓๕.๓ และแร่ธาตุ ๑๕.๘
สำหรับถั่วสไตโลพันธุ์แกรมหรือเกรแฮม ใช้ทำหญ้าแห้งได้ดี
ลำต้นอ่อนกว่าสไตโลพันธุ์อื่นๆ โคชอบกินติดเมล็ดดีมาก
เหมาะสำหรับดินร่วนปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ถั่วสไตโลพันธุ์เกรแฮมหรือแกรม |
๔.
ถั่วแล็บแล็บ
(Lablab purpureus)
บางทีเรียกว่า ถั่วแปบ อายุ ๑-๒ ปี มีเถาแต่ไม่เลื้อยพันแบบเถาวัลย์
ใบเป็นแบบใบรวมมีใบย่อย ๓ ใบ ขนาดใหญ่ กว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ยาว ๗-๘
เซนติเมตร ดอกสีขาวเป็นช่อยาว ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ชอบดินดอน
โคชอบกินน้อยกว่าถั่วลาย ถ้าให้โคกินใบสดมากเกินไป
อาจทำให้ท้องอืดถึงตายได้ ควรให้กินวันละ ๓-๔ กิโลกรัม ติดเมล็ดได้ดี
ปลูกด้วยเมล็ด งอกเร็ว และโตเร็ว
ควรใช้ทำหญ้าแห้งเพื่อลดพิษที่ทำให้ท้องอืด
คุณค่าอาหารจากตัวอย่างพืชจากอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๑๑.๗ โปรตีน ๑๘.๐ ไขมัน ๓.๑ กาก ๒๓.๔ แป้ง
๓๓.๙ และแร่ธาตุ ๙.๖
๓.
พืชอาหารสัตว์ในกลุ่มไม้ยืนต้น
พันธุ์ไม้ยืนต้นมีข้อดีสำหรับการใช้เป็นพืชอาหารสัตว์
คือ พืชกลุ่มนี้มีอายุใช้การได้นาน
สามารถตัดใบมาเป็นอาหารสัตว์ได้เกือบตลอดปี
เพราะทนต่อสภาพแล้งดีกว่าพันธุ์พืชอาหารสัตว์ประเภทไม้ล้มลุก นอกจากนั้น
อาจใช้ประโยชน์จากลำต้น เป็นไม้ใช้สอย หรือเชื้อเพลิงอีกด้วย
พันธุ์ไม้ยืนต้น ที่ใช้เป็นอาหารสัตว์มีดังนี้
๑. ต้นแค (Sesbania grandiflora)
เป็นพืชในวงศ์ถั่ว พบอยู่ทั่วๆ ไป เราใช้ดอกเป็นอาหารของมนุษย์ เช่น
ใช้แกงส้ม ส่วนใบมีคุณค่าอาหารสูง ใช้เลี้ยงโคกระบือได้ดี โคชอบกิน
ให้กินเป็นอาหารเสริมโปรตีนร่วมกับฟางข้าว และหญ้าแห้ง
คุณค่าอาหารของใบรวมกับก้าน คิดเป็นร้อยละดังนี้ ความชื้น ๙.๗ โปรตีน ๒๗.๘
ไขมัน ๒.๗ กาก ๙.๒ แป้ง ๔๒.๑ และแร่ ธาตุ ๘.๒ |