วิศวกรรมเอนไซม์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน
เมนู 14
เล่มที่ ๑๔
เรื่องที่ ๑ พระราชวัง ในกรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๒ พระราชวัง ในส่วนภูมิภาค
เรื่องที่ ๓ ประติมากรรมไทย
เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์
เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์
เรื่องที่ ๖ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
เรื่องที่ ๗ ข้าวฟ่าง
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร
เรื่องที่ ๑๐ สมุนไพร
รายชื่อผู้เขียน
กลับหน้าแรก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
/
เล่มที่ ๑๔
/
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
/ วิศวกรรมเอนไซม์
วิศวกรรมเอนไซม์
วิศวกรรมเอนไซม์
วิศวกรรมเอนไซม์ คือ การใช้เอนไซม์ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม สำหรับผลิตสินค้าที่ต้องการ เช่น น้ำตาลกลูโคส หรือน้ำเชื่อม ที่มีน้ำตาลฟรักโทสสูง ซึ่งผลิตได้จากแป้ง ยารักษาโรค หรือตัวกลาง สำหรับนำไปผลิตเป็นยารักษาโรคบางชนิด เป็นต้น เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้น ตามปกติในสิ่งมีชีวิต เอนไซม์เป็นสาร ซึ่งเมื่อแยกออกมาจากสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังคงมีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาต่างๆ นี้ได้อยู่ ในอุตสาหกรรมเราอาจใช้เอนไซม์นี้ในสภาพสารละลาย และที่ดีกว่านั้น เราสามารถตรึงเอนไซม์ให้ติดอยู่กับสารเคมีโมเลกุลใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้สามารถใช้เอนไซม์ได้หลายๆ ครั้งเป็นเวลานาน กล่าวคือ หลังจากใช้เอนไซม์ที่ตรึงแล้วเร่งปฏิกิริยาที่ต้องการ แล้วแยกผลิตผลออกไป ก็จะนำเอนไซม์มาใช้ใหม่ได้ ปัจจุบัน นอกจากเราจะนำเอนไซม์ที่แยกจากสิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้แล้ว เรายังสามารถเตรียมเอนไซม์ ที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นจำนวนมากได้ โดยวิธีทางพันธุกรรมวิศวกรรมอีกด้วย
เทคนิคในการศึกษาโครงสร้างของยีน วิเคราะห์โดยวิธีผ่านกระแสไฟฟ้าทำให้มองเห็นลำดับการเรียงตัวในยีน
ในภาพเป็นยีนของเอนไซม์จากเชื้อมาลาเรีย ทำให้สามารถออกแบบยาต้านมาลาเรียใหม่ ๆ ได้
หัวข้อก่อนหน้า
หัวข้อถัดไป