เทคโนโลยีการหมัก - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 14
เล่มที่ ๑๔
เรื่องที่ ๑ พระราชวัง ในกรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๒ พระราชวัง ในส่วนภูมิภาค
เรื่องที่ ๓ ประติมากรรมไทย
เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์
เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์
เรื่องที่ ๖ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
เรื่องที่ ๗ ข้าวฟ่าง
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร
เรื่องที่ ๑๐ สมุนไพร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๔ / เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ / เทคโนโลยีการหมัก

 เทคโนโลยีการหมัก
เทคโนโลยีการหมัก

กระบวนการของเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การหมัก ซึ่งหมายถึงการเพาะจุลินทรีย์ เพื่อให้ผลิตสินค้าที่ต้องการออกมา เทคโนโลยีการหมัก จัดเป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มีมานานแล้ว อาหารหลายอย่างที่เรารับประทาน ได้มาจากการหมัก เช่น เต้าเจี้ยว น้ำปลา และขนมจีน เป็นต้น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็มีมาจากการหมักผลไม้หรือข้าว ในอุตสาหกรรมนั้น เราใช้เทคโนโลยีการหมักในการผลิตสินค้าต่างๆ ที่เป็นจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ สำหรับทำขนมปัง หรือผลิตผลของจุลินทรีย์ เช่น ยาปฏิชีวนะ กรดอินทรีย์ และวิตามิน เป็นต้น การหมักในระดับอุตสาหกรรมเช่นนี้ มักต้องทำในถังหมัก ซึ่งจะมีเฉพาะจุลินทรีย์ที่ต้องการในการหมักนี้เท่านั้น โดยจุลินทรีย์อื่นๆ ไม่สามารถแปลกปลอมเข้าไปได้ เมื่อใส่สารละลาย ที่มีอาหาร และอากาศเข้าไป และปรับสภาวะความเป็นกรด-เบสได้ดี พร้อมทั้งมีระบบกวน และระบบปรับอุณหภูมิ และสภาวะอื่นๆ ที่ดีแล้ว การหมักก็จะเกิดขึ้น และได้ผลิตผลที่ต้องการออกมา ซึ่งจะต้องนำไปแยกให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปขาย หรือนำไปใช้ จะเห็นได้ว่า การหมัก และการแยกสารให้บริสุทธิ์ในระดับอุตสาหกรรมนั้น นอกจากใช้ความรู้ด้านจุลชีววิทยาแล้ว ยังต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมกระบวนการเป็นอันมาก

ส่วนประกอบสำคัญของถังหมักโดยทั่วไป ประกอบด้วย ระบบเติมสารอาหาร อากาศ และกรด-เบส ระบบกวน
และระบบถ่ายผลิตผลไปวิเคราะห์หรือสกัด
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป