การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 14
เล่มที่ ๑๔
เรื่องที่ ๑ พระราชวัง ในกรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๒ พระราชวัง ในส่วนภูมิภาค
เรื่องที่ ๓ ประติมากรรมไทย
เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์
เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์
เรื่องที่ ๖ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
เรื่องที่ ๗ ข้าวฟ่าง
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร
เรื่องที่ ๑๐ สมุนไพร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๔ / เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ / การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของไทย

 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของไทย
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของไทย

ในด้านการผลิตและการค้า

ขณะนี้ด้านการผลิตของทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาล และด้านการค้าในประเทศไทย ได้มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพอยู่พอประมาณ ดังตัวอย่างนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วตอนต้นอีก เช่น

ทางการเกษตร

ไม้ดอกไม้ประดับ

มีบริษัทเอกชนขนาดเล็กหลายแห่ง สามารถใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผลิตต้นกล้วยไม้ และไม้ตัดดอกอื่นๆ จำหน่าย คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๕๐๐ ล้านบาทต่อปี

ไรโซเบียม

เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยในการสร้างธาตุอาหารของพืชประเภทถั่ว กรมวิชาการเกษตรผลิต และแจกจ่ายให้เกษตรประมาณ ๗๐ ตันต่อปี

เบญจมาศสีม่วง ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เมื่อใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำให้สามารถปลูกได้ในประเทศไทยเบญจมาศสีม่วง ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว เมื่อใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำให้สามารถปลูกได้ในประเทศไทย

ทางอุตสาหกรรม

ส่วนประกอบของอาหาร


มีการจัดตั้งโรงงานผลิตไลซีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ประมาณความต้องการ ๕๐ ล้านบาทต่อปี (มูลค่าสินค้า) มีการปรับปรุง และทดสอบกระบวนการผลิตกรดมะนาว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิด ความต้องการประมาร ๑๐๐ ล้านบาทต่อปี

เอนไซม์กลูโคอะไมเลส และแอลฟาอะไมเลส

การผลิตในประเทศอยู่ในขั้นทดลอง ความต้องการของตลาดประมาณ ๑๐๐ ล้านบาทต่อปี สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปแป้ง

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมงานวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพภายในประเทศ
ทางสาธารณสุขและการแพทย์

สารวินิจฉัยโรค


มีบริษัทเล็กๆ ผลิตในประเทศ มูลค่าตลาดประมาณ ๕๐๐ ล้านบาทต่อปี

ยาปฏิชีวนะ


มีโรงงานแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลิตคานาไมซินจากวัสดุทางการเกษตร กำลังผลิต ๑๐ ตันต่อปี

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิต และการค้าในปัจจุบันนั้น เห็นได้ว่า ส่วนหนึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศ เข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับการผลิตภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ก็มีส่วนที่เป็นการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อผลิตสินค้าเพื่อส่งออกอยู่ด้วย เช่น การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น ในอนาคตคาดว่า จะมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิต และการค้าส่งออกมากขึ้น ซึ่งจะต้องการการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นกว่าในปัจจุบัน ในอนาคต การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศจะยังคงมีความสำคัญอยู่ แต่การแข่งขันกันทั้งในตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ จะบังคับให้วงการผลิตของเอกชน ต้องพัฒนาเทคโนโลยีในลักษณะที่ใหม่มากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า เราต้องสร้างพื้นฐานความรู้ความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนาขึ้นด้วย มิใช่จะเพียงนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศฝ่ายเดียวเท่านั้น

ในการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพภายในประเทศนั้น นอกจากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุข จะเป็นผู้ดำเนินการภายในขอบเขตงานของตนแล้ว รัฐบาลยังได้จัดตั้งศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติขึ้น ภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน เพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย
หัวข้อก่อนหน้า