การปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี / การปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย

 การปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย
ข้าวสาลีระยะที่มีการสร้างส่วนของลำต้น
ข้าวสาลีระยะที่มีการสร้างส่วนของลำต้น

ข้าวสาลีระยะเมล็ดสุกแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
ข้าวสาลีระยะเมล็ดสุกแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
การปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย

มี ๒ สภาพตามลักษณะภูมิประเทศ คือ

ก) ปลูกในสภาพไร่ - ไม่มีการให้น้ำ

เป็นการปลูกปลายฤดูฝน ในช่วงกลางเดือนตุลาคม อาศัยความชื้นในดินช่วยให้เมล็ดงอก แล้วไม่มีการให้น้ำตลอดฤดูปลูก ข้าวสาลีจะออกรวงในช่วงต้นเดือนธันวาคม เก็บเกี่ยวได้ในต้นเดือนมกราคม

ข) ปลูกในสภาพนา - มีการให้น้ำ

เป็นการปลูกในนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวมาปีแล้ว อยู่ในเขตที่มีการชลประทาน ปลูกในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ข้าวสาลีจะออกรวงในช่วงกลางเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์

เราแบ่งการเจริญเติบโตของธัญพืชออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ๆ คือ

๑. ระยะสร้างส่วนของลำต้น (vegetative phase)

นับจากตั้งแต่เมล็ดงอกจนถึงยอกเจริญ (growing point) เริ่มสร้างปฐมรูป (primordium) ของข้อคอรวง

๒. ระยะที่มีการพัฒนาเป็นรวง (reproductive phase)

เริ่มตั้งแต่ยอดเจริญเปลี่ยนไปสร้างรวง เกิดการยืดของลำต้น รวงโผล่ แล้วเกิดการผสมเกสร

๓. ระยะของการสร้างเมล็ด (grain-filling phase)

นับจากตั้งแต่เกิดการผสมเกสรไปจน กระทั่งเมล็ดสุกแก่ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป