 |
กาพย์เกริ่น
ร้อยกรองลองรู้จัก
ฉันทลักษณ์ของไทยเรา
มีค่าอย่าดูเบา
คำร้อยกรองงามผ่องใส
อักษรสุนทรสาร
บ่อเกิดงานอันอำไพ
เฉิดฉันวรรณคดีไทย
กวีสร้างแต่ปางบรรพ์
มาเถิดเยาวชนไทย
เร่งสนใจงานประพันธ์
ฝึกฝนจนสร้างสรรค์
กาพย์กลอนได้ภูมิใจจริง
ฐ.น.
|
ก่อนรู้จักฉันทลักษณ์ไทย
ฉันทลักษณ์เป็นคำที่มีความหมายกว้าง หมายถึง ตำราว่าด้วย คำประพันธ์
ซึ่งครอบคลุมการแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ
ก่อนที่จะทำความรู้จักกับฉันทลักษณ์ ขอเชิญอ่านบทร้อยกรองง่ายๆ สัก ๔
เรื่อง ต่อไปนี้ |
 |
บทร้อยกรองข้างต้นเป็นคำบ่นของคนที่ไม่ชอบอากาศร้อน
เขาไม่ทราบจะโทษใครดี ก็เลยโทษดวงอาทิตย์ว่า ไม่เห็นใจตน
ผู้บ่นใช้น้ำเย็นและพัดช่วยให้คลายร้อนได้บ้าง แต่ก็ยังร้อนอยู่นั่นเอง
ในที่สุดเมื่อหนีไม่พ้น ก็ต้องทนร้อนต่อไป การบ่นเป็นร้อยกรองเช่นนี้
ชวนให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านเห็นใจ พร้อมกันนั้น ก็เกิดอารมณ์ขันไปด้วย
เมื่ออ่านวรรคสุดท้าย
ถ้อยคำที่ใช้ในกาพย์ยานีบทนี้เป็นคำง่ายๆ สื่อความหมาย ชัดเจน
เสียงสัมผัสคล้องจอง มีทั้งในวรรคเดียวกัน และต่างวรรคที่อยู่ถัดไป
ทำให้เกิดจังหวะน่าฟัง |
 |
เด็กๆ ที่เคยนั่งรถเล่น แล้วกางนิ้วให้ลมสัมผัสมือ คงจะมีความรู้สึกคล้ายๆ
ที่กล่าวไว้ในบทร้อยกรองข้างต้น และถ้านั่งรถผ่านทุ่งนา
ที่มีข้าวกล้าสีเขียวอ่อน ก็จะสังเกตเห็น "คลื่นเขียว"
ขณะที่ ลมพัด เมื่อหยุดพักริมลำธาร
ก็อาจมองเห็นดอกไม้เหมือนสาวน้อยส่องกระจก มีลมพัดโชยมา ทำให้ดอกไม้ไหว
ธรรมชาติที่สวยงามชวนให้รื่นรมย์เช่นนี้ เมื่อบันทึกไว้เป็นบทร้อยกรอง
ก็จะทำให้นึกเห็นภาพงามๆ ตามไปด้วย ดูไปแล้ว การแต่งวิชชุมมาลาฉันท์
ก็ไม่น่าจะยาก มีเพียงวรรคละ ๔ คำ เพียง ๘ วรรค ก็จบบท เด็กๆ
เคยสังเกตธรรมชาติรอบตัวมาแล้ว อาจลองแต่งฉันท์ชนิดนี้ ดูบ้างก็ได้ |
 |
สายรุ้งหรือรุ้งกินน้ำ ใครๆ ก็คงเคยเห็นกันทั่วไป รุ้งมี ลักษณะเป็นแถบสี ๗ สี
สวยงาม โค้งเป็นครึ่งวงกลม พาดขึ้นไปบนท้องฟ้า การมองเห็นสายรุ้ง
ทำให้คนใจสบาย เกิดความหวัง
ดังนั้นผู้แต่งจึงชวนให้ผู้อ่านคิดเปรียบเทียบสายรุ้งกับความสุข
ที่จะได้รับ หลังจากที่ทุกข์มามากแล้ว
น่าสังเกตว่าการมองดูปรากฏการณ์ธรรมชาติ
แล้วเกิดความคิดเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้ เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง
ที่กวีหรือนักกลอน ชอบใช้ เพราะทำให้บทร้อยกรองมีสาระลึกซึ้งขึ้น
ทั้งยังเป็นข้อคิด ที่ปลอบใจให้คลายทุกข์ได้บ้าง |
 |
ดอกบัวเกิดจากโคลนตมในสระน้ำ
ก้านของดอกบัวยาว จึงสามารถชูดอกแย้มบานเหนือน้ำได้ ฉะนั้นแม้ฝนจะตก
น้ำจะท่วม บัวก็ยังสดชื่นอยู่ได้
ในขณะที่ดอกไม้ชนิดอื่นเหี่ยวโหยโรยราไปหมด เพราะสวนล่ม
เนื่องจากน้ำท่วมนาน ผู้แต่งคงจะได้สังเกตความแตกต่าง
ระหว่างดอกบัวกับดอกไม้ชนิดอื่น จึงเกิดความคิดเชิงเปรียบเทียบ
หรืออุปมาอุปไมยขึ้น เป็นการก้าวจากรูปธรรมคือ ดอกบัว ไปสู่นามธรรม คือ
ความเป็นผู้มีปัญญา และความอดทน สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างสงบ
ไม่ต้องหมองเศร้า เพราะความทุกข์ แตกต่างจากผู้ที่ขาดปัญญา
ซึ่งถูกความทุกข์ทำลายอย่างย่อยยับ
|
 |