ชีวาลัยแหล่งกำเนิดชีวิต - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต / ชีวาลัยแหล่งกำเนิดชีวิต

 ชีวาลัยแหล่งกำเนิดชีวิต
แสดงเปรียบเทียบความบางของชีวาลัย กับความลึกของโลก
แสดงเปรียบเทียบความบางของชีวาลัย กับความลึกของโลก
ชีวาลัยแหล่งกำเนิดชีวิต

โลกเป็นดาวพระเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยจักรวาล ซึ่งแตกตัวออกมาจากดวงอาทิตย์ และวิวัฒนาการตัวเอง ด้วยการค่อยๆ คายความร้อนที่มีอยู่ในตัว จนในที่สุดก็เย็นสนิท และให้กำเนิดทรัพยากรธรรมชาติขึ้น ณ บริเวณพื้นผิว อันประกอบด้วย ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ และบรรยากาศ เมื่อสิ่งแวดล้อมบริเวณผิวโลกได้ปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล ก็ได้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในบริเวณใต้พื้นผิวน้ำทะเล เป็นพืชที่เป็นอินทรีย์ขนาดเล็กมาก เมื่อประมาณ ๒ พันล้านปีมาแล้ว และอินทรีย์ดังกล่าวนี้ ก็ได้ใช้เวลาอีกยาวนานในการวิวัฒนาการ เพื่อมาเป็นพืชชนิดต่างๆ จนถึงเมื่อประมาณ ๑,๔๐๐ ล้านปีต่อมา ก็ได้เกิดพืชเรียกว่า สาหร่าย เกิดขึ้นบนบก แล้วจากนั้นกระบวนการของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ก็พัฒนาตัวเองมา จนมีมนุษย์เกิดขึ้น จนมาเป็นสังคม ชุมชมอยู่ในปัจจุบัน

บริเวณที่เป็นที่เกิด และที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนั้น อยู่ ณ บริเวณผิวโลกที่เรียกว่า ชีวาลัย หรือชีวบริเวณ (Biosphere)

ขอบเขตของชีวาลัย หรือชีวบริเวณนั้น มีความสูงขึ้นไปในบรรยากาศจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ ๙,๐๐๐ เมตร และต่ำจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1๑๑,๐๐๐ เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่เทียบมาจากความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก และเป็นความต่ำที่ได้มาจากจุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก

องค์ประกอบในชีวบริเวณนั้น ประกอบด้วย ทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ซึ่งต่างมีความผูกพัน และส่งผลให้สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตเกิดและเจริญเติบโต และวิวัฒนาการไปสู่การเป็นสังคม ชุมชน ที่ยิ่งเพิ่มมากเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ระบบนี้เรียกว่า ระบบนิเวศ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป