การติดต่อและระยะฟักตัว - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส / การติดต่อและระยะฟักตัว

 การติดต่อและระยะฟักตัว
การติดต่อและระยะฟักตัว

เนื่องจากพบไวรัส บี ได้ในสารน้ำต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งในน้ำอสุจิ โรคนี้จึงติดต่อได้หลายทางคือ โดยทางเข็มฉีดยา และกระบอกฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ การถ่ายเลือด การได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด การแพร่จากมารดาสู่ทารก การติดจากผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะของโรคไปสู่คนปกติ ที่อยู่ใกล้ชิด หรืออยู่ในครอบครัวเดียวกัน และติดต่อโดยการร่วมเพศ

ทารกติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากมารดาที่เป็นพาหนะ
ทารกติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากมารดาที่เป็นพาหนะ

โรคนี้มีระยะฟักตัวยาวนานแตกต่างกัน แล้วแต่วิธีการติดโรค โดยกินเวลาประมาณ ๕๐-๑๘๐ วัน โรคนี้เกิดได้กับประชากรทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ ในประเทศไทยทารกติดเชื้อเพิ่มตามอายุ ในเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี พบ น้อย อายุ ๖-๑๔ ปี จะมีภูมิคุ้มกันแล้วประมาณ ร้อยละ ๓๐ เมื่ออายุถึง ๒๐ ปี จะพบประมาณ ร้อยละ ๕๐-๖๐ ภูมิคุ้มกันนี้จะเกิดขึ้นได้ โดยการติดเชื้อในธรรมชาติ โดยไม่ปรากฏอาการของโรค และพบว่าในประชากรไทยโดยทั่วไป จะเป็นพาหะของโรคอยู่ประมาณร้อยละ ๕-๑๐ ผู้ที่เป็นพาหะเรื้อรังนี้ จะมีเชื้อไวรัส บี อยู่ในตัวตลอดเวลา สามารถแพร่ให้แก่ผู้อื่นต่อไปได้
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป