สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 17
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส / ตับอักเสบซี
ตับอักเสบซี
อาการของโรคตับอักเสบ ซี
เริ่มแรกมีอาการไม่จำเพาะ
ได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ปวดท้องบ้างเล็กน้อย ตามด้วยอาการดีซ่าน (ตัวเหลือง
ตาเหลือง) ระยะฟักโรคโดยเฉลี่ยประมาณ ๘ สัปดาห์
โดยมีเกณฑ์อยู่ระหว่าง ๒-๒๐ สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ
การดำเนินโรค
อาการของโรคน้อยกว่าตับอักเสบชนิดบี ส่วนใหญ่การติดเชื้อมักเป็นชนิดไม่ปรากฏอาการ หากปรากฏอาการ
อาการมักไม่รุนแรงถึงขนาดจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ผู้ที่ติดเชื้อตับอักเสบ ซี จะมีการดำเนิน
โรคแบบรุนแรงหรือไม่นั้น ยังไม่ชัดเจน เท่าที่
พบมีอยู่น้อยรายที่ผู้ป่วยเป็นพาหะอย่างเรื้อรังของตับอักเสบ บีอยู่ก่อน แล้วติดเชื้อตับอักเสบ ซี
ซ้ำเติม จึงจะมีการดำเนินโรคแบบฟุลมิแนนท์
ผลการตรวจเลือดทางเคมี
พบว่าระดับของ อะลานีน อะมิโนทรานสเฟอเรส มีระดับต่ำกว่าตับอักเสบ เอ และบี แต่จะมีระดับสูงๆ ต่ำๆ ในระหว่างการดำเนินโรค
ซึ่งลักษณะเช่นนี้ จะไม่พบในตับอักเสบชนิดอื่นๆ
ลักษณะของไวรัสตับอักเสบ ซี
ในปัจจุบันยังไม่สามารถแสดงรูปลักษณะของไวรัสตับอักเสบ
ซี ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนได้โดยตรงจากผู้ป่วย
แต่ก็สามารถที่จะแสดงลักษณะที่ไม่จำเพาะที่ไวรัสตับอักเสบ ซี
ก่อขึ้นในเซลล์ตับ โดยจะเห็นเป็นรูปทรงกระบอก (ทูบูลาร์)
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะรู้จักไวรัส ซี นี้ได้
โดยการศึกษาทางอณูชีววิทยา
เมื่อเอาเลือดหรือเซรุ่มจากผู้ที่เป็นพาหะของโรคฉีดให้แก่ลิงชิมแปนซี
จะสามารถทำให้ลิงชิมแปนซีติดเชื้อได้
เชื้อก่อโรคที่พบจากการศึกษาเป็นไวรัสขนาดเล็ก
ที่มีเปลือกเป็นซองไขมันหุ้ม ขนาดประมาณ ๖๐ นาโนเมตร
ไวต่อสารละลายอินทรีย์ เช่น คลอ- โรฟอร์ม มีความหนาแน่นต่ำ
มีอาร์เอ็นเอสาย เดี่ยวที่มีปริมาณนิวคลิโอไทด์ เท่ากับหนึ่งหมื่น
นิวคลิโอไทด์ และลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับ ไวรัสกลุ่มฟลาวิไวรัส
ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ ไวรัสไข้เหลืองและไวรัสเด็งกี่
|  เลือดที่ผ่านการตรวจว่าปลอดจากเชื้อต่างๆ จึงนำไปใช้ในการรักษา | การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ ซี
ทำได้โดยการวินิจฉัยคัดแยกโรคอื่นออกไป
การวินิจฉัยโรคโดยวิธีนี้ก็คือ การวินิจฉัยคัด เอาโรคตับอักเสบ เอ
ตับอักเสบ บี และโรคติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ
ที่เป็นต้นเหตุของตับอักเสบออกไป ในการวินิจฉัยแยกโรคนั้น
ให้กระทำการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการไวรัสให้กว้างขวางมากที่สุด
เท่าที่จะกระทำได้ แล้วจึงจะลงความเห็นได้ว่า
เป็นโรคตับอักเสบชนิดไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี
การทดสอบอาจจะทำเป็นชุดในขณะที่โรคกำลังอยู่ในระยะเฉียบพลัน ได้แก่
ตรวจหาเอชบีเอส แอนติเจน (HBsAg) แอนติ-เอชบีซี (anti-HBc) และ
แอนติ-เอชเอวี ชนิดไอจีเอ็ม (anti-HAV IgM) ถ้า ๒ อันแรกให้ผลลบก็
บอกได้ว่าไม่ใช้ตับอักเสบ บี อย่างแน่นอน และ ถ้าผลการตรวจ แอนติ-เอชเอวี
ชนิดไอจีเอ็ม
การป้องกัน
เมื่อการทดสอบทางห้องปฏิบัติการได้พัฒนาขึ้น
การตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบ ซี
เพื่อคัดเอาเลือดที่มีเชื้อออก แม่นยำขึ้น
จะช่วยลดอุบัติการณ์เกิดตับอักเสบไม่ใช่ เอ ไม่ใช่บี หรือตับอักเสบ ซี
จากการรับเลือดลง ไปได้ประมาณร้อยละ ๗๐-๘๐
นอกจากนั้น กำลังมีผู้พยายามที่จะหาวิธีทำลายเชื้อตับอักเสบ ซี ที่ปนเปื้อนอยู่ในเลือด
ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ การติดเชื้อจากการรับเลือดก็จะลดลงไปได้อีกมาก
การฉีดอิมมูเซรุ่มโกลบุลิน
จะช่วยลดอุบัติการณ์ดีซ่านได้อย่างชัดเจน ในผู้ที่ได้รับเลือดเกิน ๓
ยูนิตขึ้นไป แม้ว่าจะป้องกันไม่ได้ทุกราย
แต่ในการป้องกันโรคก็พบว่าอิมมูนเซรุ่ม
โกลบุลินเป็นประโยชน์ในการลดอุบัติการณ์การติดเชื้อ
ขณะนี้การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซีกำลังดำเนินอยู่
และการรักษาโดยใช้อินเตอร์เฟอรอน ในรายที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
จากการติดเชื้อตับอักเสบ ซี ก็กำลังดำเนินอยู่
ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะได้รับผลดี
|
|