ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช / ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์

ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์
ความสำคัญ ของการปรับปรุงพันธุ์

พืชมีความสำคัญ และจำเป็น ต่อมนุษย์ มาตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ เป็นอาหารหลักของมนุษย์ทั้งทางตรง และทางอ้อม เป็นเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ เป็นที่อยู่อาศัย และเป็นยารักษาโรค นอกจากนี้ พืชยังให้ความร่มรื่น สดชื่นและสุขสบายกายใจแก่มนุษย์ ในยุคปัจจุบันอีกด้วย

ชาวต่างประเทศได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ สิริกิติ์ โดยนำมาเป็นนามของดอกไม้งาม ๓ ชนิด คือ ดอนญ่า ควีนสิริกิติ์
มนุษย์มีความเกี่ยวข้อง และเห็นประโยชน์ของพืชสืบต่อมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แต่เมื่อจำนวนประชากรของมนุษย์เพิ่มขึ้น ความจำเป็นจะต้องใช้พืชชนิดต่างๆ เพื่อดำรงชีวิตก็ย่อมมาขึ้นตามลำดับ และพืชป่าย่อมหายากขึ้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องนำพืช ที่ต้องการมาปลูก และดูแลรักษาเป็นพิเศษ ในบริเวณใกล้เคียงกับที่อยู่อาศํย จำเป็นจะต้องผลิตพืชให้มีปริมาณมากขึ้น มีคุณ ภาพตรงตามที่ต้องการเพิ่มขั้น ทั้งนี้ด้วยวิธีเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้พันธุ์ดีเตรียมดินที่ดี ให้น้ำ ใส่ปุ๋ยที่เพียงพอ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ถูกวิธี เก็บเกี่ยวกับรักษาที่เหมาะสม เป็นต้น ในบรรดาวิธีการเกษตรกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ วิธีการใช้เมล็ดพันธุ์ดีของพันธุ์ดี เป็นวิธีการเพิ่มผลิตผลและคุณภาพของพืชที่ได้ผลง่ายที่สุด และประหยัดที่สุดในด้านของเกษตรกร ทั้งเป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอนที่สุดอีกด้วย

ชาวต่างประเทศได้ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ สิริกิติ์ โดยนำมาเป็นนามของดอกไม้งาม ๓ ชนิด คือ แคทลียา ควีนสิริกิติ์
มนุษย์หรือเกษตรกรในสมัยโบราณรู้จักการ ปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อให้ได้พันธุ์ดี โดยอาศัยความใกล้ชิด และประสบการณ์ที่สะสมกันมาช้านาน รู้จักเทคนิคของการเลือกพืชที่มีลักษณะที่ตนต้องการ จนได้พืชพันธุ์ดีไว้ปลูกต่อๆ กันมาจำนวนมาก ดังตัวอย่างพันธุ์ผลไม้ชนิดต่างๆ ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ส่วนมากได้จากการคัดเลือกทั้งสิ้น การปรับปรุงพันธุ์พืชจึงถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง

ต่อมา เมื่อมนุษย์มีความรู้ทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น เช่น พฤกษศาสตร์ และหลักของพันธุศาสตร์ เป็นต้น มนุษย์ได้นำวิทยาศาสตร์ และวิชาการไปประยุกต์ใช้กับการปรับปรุงพันธุ์พืช ทำให้งานปรับปรุงพันธุ์พืชในระยะต่อมาถึงปัจจุบัน ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์
หัว ข้อก่อนหน้า หัว ข้อถัดไป