สมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 18
เล่มที่ ๑๘
เรื่องที่ ๑ สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๒ ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์
เรื่องที่ ๓ การแต่งกายของคนไทย
เรื่องที่ ๔ กฎหมายกับสังคมไทย
เรื่องที่ ๕ ประวัติการพิมพ์ไทย
เรื่องที่ ๖ ภาษา และอักษรไทย
เรื่องที่ ๗ ยาฆ่าแมลง
เรื่องที่ ๘ ดิน และปุ๋ย
เรื่องที่ ๙ การเลี้ยงหมู
เรื่องที่ ๑๐ ระบบการค้าผลิตผลการเกษตร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๘ / เรื่องที่ ๕ ประวัติการพิมพ์ไทย / สมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์

 สมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์
สมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี เมื่อบ้านเมืองเป็นปกติแล้ว บาทหลวงฝรั่งเศสชื่อ การ์โนต์ (Garnault) กับคณะได้กลับเข้ามาสอนศาสนาอีก แต่ได้แสดงความไม่เห็นชอบด้วยกับการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะให้ขุนนางไทยที่นับถือคริสต์ศาสนา ไปถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา จึงถูกเนรเทศออกไปนอกประเทศ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสวยราชสมบัติ โปรดเกล้าฯ ให้คณะบาทหลวงกลับเข้ามาสอนศาสนาตามเดิมได้ บาทหลวงการ์โนต์กับคณะจึงเข้ามาอยู่ที่กรุงธนบุรีตามเดิม ใน พ.ศ.๑๓๓๙ การกลับมาในครั้งนี้ได้นำเครื่องพิมพ์เข้ามาด้วย และได้จัดตั้งโรงพิมพ์ และพิมพ์หนังสือขึ้น ที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน จังหวัดธนบุรี มีหลักฐานว่า เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ คือ หนังสือคำสอนคริสตัง ภาคต้น หนังสือนี้พิมพ์ในปี พ.ศ.๒๓๓๙ (ค.ศ.๑๗๙๖) เป็นหนังสือที่ใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์เป็นภาษาไทย พิมพ์ขึ้นเป็นเล่ม มีความหนา ๖๔ หน้า แม่แบบตัวพิมพ์ปั้นด้วยดินเหนียว หลอมตะกั่วหยอด หล่อทีละตัว แท่นพิมพ์ทำด้วยไม้ หนังสือเล่มนี้มีจ่าหน้า ซึ่งถอดอ่านเป็นตัวอักษรไทยแล้ว มีใจความว่า

หน้าปกในหนังสือคำสอนคริสตัง ภาคต้น ซึ่งเขียนภาษาไทยด้วยตัวพิมพ์อักษรโรมัน
หน้าปกในหนังสือคำสอนคริสตัง ภาคต้น ซึ่งเขียนภาษาไทยด้วยตัวพิมพ์อักษรโรมัน

ในหน้าสองของหนังสือ พิมพ์ภาพเป็นรูปนักบุญหลุยส์ เดอคงชาคา เป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ แกะรูปร่างหน้าตาดูคล้ายคนไทย ไม่เป็นฝรั่ง เป็นฝีมือช่างแกะแม่พิมพ์คนไทย พิมพ์ในปี ค.ศ.๑๗๙๖ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๓๙ เป็นรัชสมัยของรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป