ตระกูลภาษาไท - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 18
เล่มที่ ๑๘
เรื่องที่ ๑ สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๒ ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์
เรื่องที่ ๓ การแต่งกายของคนไทย
เรื่องที่ ๔ กฎหมายกับสังคมไทย
เรื่องที่ ๕ ประวัติการพิมพ์ไทย
เรื่องที่ ๖ ภาษา และอักษรไทย
เรื่องที่ ๗ ยาฆ่าแมลง
เรื่องที่ ๘ ดิน และปุ๋ย
เรื่องที่ ๙ การเลี้ยงหมู
เรื่องที่ ๑๐ ระบบการค้าผลิตผลการเกษตร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๘ / เรื่องที่ ๖ ภาษา และอักษรไทย / ตระกูลภาษาไท

 ตระกูลภาษาไท
ชาวไตลื้อในประเทศจีน จะใช้ภาษาที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาไท
ชาวไตลื้อในประเทศจีน จะใช้ภาษาที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาไท
ตระกูลภาษาไท

ภาษาไทยเรา นอกจากจะมีใช้พูดอยู่ในประเทศไทย และมีความแตกต่างกันไปตามถิ่นต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ยังมีภาษาที่อาจจัดว่า เป็นภาษาไทอยู่ในประเทศใกล้เคียงอีกหลายประเทศ นักภาษาได้ศึกษาภาษาเหล่านี้ไปแล้วหลายถิ่น ในหลายประเทศ และจัดภาษาเหล่านี้รวมทั้งภาษาไทยในประเทศไทยด้วย ให้เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน เรียกว่า ตระกูลภาษาไท ที่นักภาษาจัดภาษาเหล่านี้เป็นภาษาไท หรือเป็นภาษาพี่น้องกับภาษาไทยในประเทศไทย ก็เพราะภาษาเหล่านี้มีลักษณะภาษาที่คล้ายคลึงกันหลายประการ และนักภาษาอธิบายว่า ความคล้ายคลึงกันนี้ เกิดจากภาษาเหล่านี้ รับคำที่เป็นมรดกตกทอดมาจากภาษาโบราณเดียวกัน คำศัพท์ที่เรียกว่า เป็นคำมรดก หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้พูดถึงเรื่องในชีวิตประจำวันง่ายๆ ในสังคมโบราณ ไม่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเจริญในสมัยปัจจุบัน คำศัพท์ที่ว่านี้ นักภาษาได้รวบรวมไว้เป็นจำนวนกว่า ๑,๐๐๐ คำ และเราได้เห็นตัวอย่างคำศัพท์มรดกไปบ้างแล้ว

คนที่พูดภาษาไทเหล่านี้ บางกลุ่มก็เรียกตนเองว่า เป็นคนไต บางกลุ่มก็ไม่ใช้คำว่า ไทหรือไตเลย นอกจากภาษาไทยในประเทศไทยแล้ว ภาษาในประเทศอื่น ที่นักภาษาจัดว่า เป็นภาษาอยู่ในตระกูลเดียวกับภาษาไทยในประเทศไทย ยังมีภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทนุง ไทโท้ ในประเทศเวียดนาม ภาษาไตเต้อหง ภาษาไทลื้อ ภาษาลุงโจว ภาษาโปอาย ภาษาวูมิง ฯลฯ ในประเทศจีน ภาษาไทพาเก ภาษาไทคำตี่ ภาษาไท ไอต้อน ไทอาหม ในประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยในประเทศมาเลเซีย และกัมพูชา ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาในรายละเอียดของลักษณะภาษา
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป