การแพร่พันธุ์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 19
เล่มที่ ๑๙
เรื่องที่ ๑ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่องที่ ๒ พืชน้ำมัน
เรื่องที่ ๓ การถนอมผลิตผลการเกษตร
เรื่องที่ ๔ ม้า
เรื่องที่ ๕ แมลง
เรื่องที่ ๖ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
เรื่องที่ ๗ ศิลปการนับเบื้องต้น
เรื่องที่ ๘ ภูมิปัญญาชาวบ้าน
เรื่องที่ ๙ สารกึ่งตัวนำ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๙ / เรื่องที่ ๕ แมลง / การแพร่พันธุ์

 การแพร่พันธุ์
ตั๊กแตนกำลังวางไข่ในดิน
ตั๊กแตนกำลังวางไข่ในดิน
 การแพร่พันธุ์

แมลงส่วนใหญ่แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ ไข่เหล่านั้นได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิของตัวผู้ ที่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมีย ก่อนวางไข่ มีแมลงเป็นส่วนน้อยที่วางไข่โดยไม่ต้องผสมกับตัวผู้ และไข่เหล่านั้น สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ออกลูกหลานสืบต่อกันไปได้ เช่น ตั๊กแตนกิ่งไม้ แมลงบางพวก เช่น เพลี้ยอ่อน ออกลูกเป็นตัว โดยไม่มีการผสมกับตัวผู้ แมลงเหล่านี้จึงมีตัวผู้น้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย แมลงบางพวกจะวางไข่ โดยไม่จำกัดสถานที่ ปล่อยให้ไข่ตกไปตามยถากรรม ตั๊กแตนกิ่งไม้ โดยทั่วๆ ไปจะมีนิสัยเช่นนี้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกมาต้องหาอาหารช่วยตัวเอง แมลงมากชนิดจะวางไข่ตามแหล่งที่เป็นอาหารของลูกอ่อน ช่วยให้ลูกอ่อน ที่ฟักออกมามีอาหารกินได้ทันที บางชนิดวางไข่ใบเดี่ยวๆ บนพืชอาหาร กระจายทั่วไป โดยปราศจากสิ่งปกปิด เช่น ผีเสื้อหนอนแก้วส้ม วางไข่ตามใบส้มทั่วๆ ไป นอกจากนี้ก็มีพวกที่วางไข่เป็นกลุ่มอย่างเปิดเผย เช่น มวนลำใย ซึ่งลูกอ่อนที่ฟักออกมา จะอยู่รวมกลุ่มกันระยะหนึ่ง ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป แมลงจำนวนมากวางไข่เป็นกลุ่ม โดยจัดให้ไข่อยู่ใต้สิ่งที่ปกปิดต่างๆ เพื่อช่วยในการอำพรางศัตรู แมลงชีปะขาว ปกปิดไข่ด้วยขนจากปลายท้องแม่ ตั๊กแตนตำข้าว ทำสารเหนียว ซึ่งแข็งตัวหุ้มรอบไข่ที่อยู่ภายใน แต่เวลาเดียวกัน ก็มีแมลงมากชนิด ที่อาศัยธรรมชาติช่วยปกปิดให้ เช่น ตั๊กแตนปาทังก้า วางไข่ซ่อนอยู่ในฝัก และฝังไว้ใต้ผิวดินอีกทีหนึ่ง ทำให้ยากแก่ศัตรูที่จะค้นหาได้พบ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป