
แมลงกระชอนมีขาหน้าแบบขาขุด |
๗.
ขาเกี่ยว หรือขาเหนี่ยว เช่น
ขาคู่หน้าของพวกเหา ขาแบบนี้มีปล้องต่างๆ
ค่อนข้างโต ปลายหน้าแข้งเป็นง่าม ฝ่าตีนปล้องเดียว ใหญ่ และมีเล็บยาว
เหมาะสำหรับยึดเหนี่ยวกับเส้นผมได้แน่น ไม่ให้ตัวหลุดออกไปได้ง่ายๆ |

ภาพแสดงขั้นตอนการกระโดดของหมัด |
ปีกแมลง
แมลงหลายชนิดไม่มีปีก แม้ว่าตัวจะโตเต็มที่แล้วก็ตาม เช่น ตัวสามง่าม
เป็นต้น แมลงบางชนิดต้นบรรพบุรุษในสมัยดึกดำบรรพ์เคยมีปีกมาก่อน
แต่ปัจจุบันไม่มีปีก เพราะไม่จำเป็นที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนไกลๆ เช่น เหา
และเรือด คงเห็นร่องรอยของติ่งปีกโผล่ออกมาเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนแมลงที่มีปีกนั้นปีกจะติดอยู่ที่ข้างอกปล้องกลางและ อกปล้องหลัง
ส่วนอกปล้องหน้าไม่เคยมีปีกเลย ฉะนั้นปีกจึงบอกตำแหน่งของอกด้วย |

แมลงดาเยี่ยวมีขาหน้าแบบขาจับ |
แมลงอาจจะมีปีกเพียงคู่เดียว เช่น แมลงวัน
มีเฉพาะปีกคู่หน้าเป็นแผ่นบางใส
ส่วนปีกคู่หลังไม่มีลักษณะเป็นปีก คงเห็นเป็นติ่งออกมา
ไม่สามารถใช้ในการบินได้ แต่ใช้ทำหน้าที่เป็นหางเสือ ช่วยให้แมลงบินได้ตรง
หรือเปลี่ยนทิศทางในการบิน พวกแมลงที่มี ปีก ๒ คู่นั้น
ปีกทั้งสองคู่อาจจะมีลักษณะคล้ายๆ กันคือ บางใส และอาจจะมีรูปร่างคล้ายกัน
และขนาดไล่เลี่ยกัน เช่น ปีกแมลงปอ พวกที่มีปีกลักษณะเหมือนกันแต่ขนาด
ต่างกัน เช่น ผีเสื้อ ซึ่งมีปีกหน้าใหญ่กว่าปีกหลัง
ส่วนพวกที่มีปีกคู่หน้าแตกต่างกับปีกคู่หลัง เช่น ด้วง
มีปีกคู่หน้าหนาและแข็ง คล้ายลำตัว ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นบางใส
สำหรับพวกมวนมีปีกคู่หน้า บริเวณโคนแข็ง ปลายเป็นแผ่นบางอ่อน
ส่วนปีกคู่หลังเป็น แผ่นบางอ่อน บนแผ่นปีกจะเห็นลักษณะเป็นเส้น
เรียกกันว่า เส้นปีก |

ผีเสื้อมีเกล็ดเล็กๆ หลากสีคลุมปีก ทำให้ดูสวยงาม |
นักวิทยาศาสตร์มักจะใช้เส้นปีกเหล่านี้
เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งหมวดหมู่ของแมลงบางพวก เช่น ในการแยกวงศ์ของผีเสื้อ
เป็นต้น ปีกของแมลงบางพวกอาจจะมีขนตามเส้น ปีกและแผ่นปีก เช่น แมลงหวี่ขน
แต่ปีกผีเสื้อและยุงจะมีเกล็ดเป็นแผ่นเล็กละเอียดมอง คล้ายฝุ่นปกคลุม
และเกล็ดเหล่านี้ โดยเฉพาะของผีเสื้อมีสีสันต่างๆ กัน
ทำให้ผีเสื้อมีสีสวยงาม เมื่อรวมเกล็ด และขนตามลำตัวเข้าไปด้วย
หน้าที่หลักของปีกนั้น ใช้ในการบิน และเปลี่ยนทิศทางในการบิน แมลงบางพวก
เช่น ผีเสื้อ ตามขอบหน้าของปีกหลัง บริเวณโคน มีตะขอเล็กๆ
ใช้เกาะขอบท้ายของปีกคู่หน้า ทำให้ปีกคู่หน้าและหลังกระพือได้พร้อมๆ กัน
เมื่อทำการบิน |

ปีกหน้าและหลังของผีเสื้อยึดติดกันเมื่อเวลาบิน |
ท้องแมลง
ท้องของแมลงประกอบด้วยปล้อง ท้องส่วนใหญ่ที่พบเห็นได้ มีจำนวน ๑๑ ปล้อง
แต่ปล้องสุดท้ายมักจะเล็กมาก ทำให้เห็นชัดเจนเพียง ๑๐ ปล้อง อย่างไรก็ตาม
แมลงบาง พวกมีจำนวนปล้องของท้องที่เห็นได้น้อยมาก เช่น แตนคู้
บางพวกมีท้องจำนวน ๓-๔ ปล้องเท่านั้น
และบางชนิดจะพบตัวผู้มีปล้องท้องมากกว่าตัวเมีย ๑ ปล้อง ท้องของแมลง
ยืดหดได้มากกว่าหัวและอก
เพราะส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นแข็งด้านหลังกับแผ่นแข็ง
ด้านท้องเป็นเยื่อบางที่ทำให้ยืดหดได้ดี
ช่วยให้แมลงรับอาหารเข้าไปในกระเพาะในท้อง
และอากาศจากท่ออากาศบริเวณท้องได้มาก
บริเวณด้านข้างของท้องของแมลงส่วนใหญ่จะ
มีรูหายใจซึ่งเป็นทางเข้า-ออกของอากาศรอบตัว |

แมลงปอมีท้องยาวเห็นเป็นปล้องๆ |
จมูกแมลง
โดยปกติด้านข้างของอกปล้องกลาง อกปล้องหลัง และท้องปล้องที่ ๑-๘
จะมีรูหายใจข้างละรู หรือรวม ๑๐ คู่ แต่จำนวนรูหายใจในแมลงต่างๆ ที่พบ
อาจจะน้อยกว่านี้ แล้วแต่ประเภทและชนิดของแมลง
จึงอาจกล่าวได้ว่าจมูกของแมลงอยู่ที่ข้างอกและท้อง
แมลงสามารถบังคับรูหายใจให้ปิด-เปิด
เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย หรือเพื่อการเข้า-ออกของอากาศ
นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
ในประการหลังรูหายใจจึงทำหน้าที่เป็นจมูกของแมลง
แต่ระบบหายใจของแมลงต่างกับคน
เพราะแมลงไม่มีปอดที่จะนำอากาศเข้าไปเก็บให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับเม็ดโลหิต
แดงในเส้นโลหิต แมลงมีท่ออากาศซึ่งแตกแขนงออกไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
คล้ายกับเส้นโลหิตของคน อากาศที่ผ่านรูหายใจเข้ามา จะถูกส่งไปตามท่ออากาศ
ที่ฝังตัวเข้าไปในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
การแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเกิดกับเนื้อเยื่อโดยตรง
ไม่มีเม็ดโลหิตแดงพาไป ทั้งนี้ยกเว้นพวกหนอนแดงที่ใช้เลี้ยงปลา
ประเภทสวยงามซึ่งเป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด ในโลหิตมีสารเฮโมโกลบิน
(haemoglobin) ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ |

หนอนด้วงแรดมะพร้าว มีรูหายใจเล็กๆ ข้างลำตัว |
สำหรับแมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ลูกน้ำยุง
รูหายใจอยู่ที่ปลายท่อที่ยื่นออกไปจาก ท้องปล้องสุดท้าย
ลูกน้ำยุงจึงต้องขึ้นมาที่ผิวน้ำ
ให้รูหายใจที่ปลายท่อโผล่พ้นน้ำเพื่อหายใจ
อย่างไรก็ตามแมลงในน้ำมากชนิดที่ไม่มีรูหายใจ
แต่มีเหงือกทำหน้าที่หายใจแทน เหงือกนี้
อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายใบไม้ เช่น ลูกแมลงปอเข็ม ซึ่งมีอยู่ ๓
แผ่นที่ปลายท้อง บางชนิดเหงือกอาจจะมีลักษณะเป็นพู่ เป็นพวงคล้ายลูกโป่ง
อยู่ตามข้างของท้อง เช่น ลูกแมลงชี เป็นต้น ท้องของแมลง นอกจากจะมีรูหายใจ
ที่เป็นจมูกของแมลงแล้ว ปลายท้องมักจะมีหาง รับความรู้สึกจากสิ่งแวดล้อม
และมีอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวผู้ และตัวเมีย
บางครั้งอาจจะเห็นอวัยวะวางไข่ของตัวเมีย ยาวออกมารูปร่างคล้ายดาบ เช่น
ตั๊กแตนหนวดยาว เป็นต้น |