สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เท่าที่ค้นพบแล้วมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่าล้านชนิด
สัตว์เหล่านี้อาศัยกระจายอยู่ทั่วไปตามส่วนต่างๆ ของโลก ทั้งบนดิน ในน้ำ
และในอากาศ สัตว์บางชนิดมีความแตกต่างกันจน เห็นได้ชัด
แต่บางชนิดก็มีความคล้ายคลึงกันมาก จนทำให้คิดว่าเป็นชนิดเดียวกัน
บางชนิดมีการแพร่ กระจายไปไกลครอบคลุมหลายประเทศ หรืออาจจะกระจายข้ามทวีปก็เป็นได้ |
 นกกระทุง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า พีลีคานัส ฟิลิปเพนซิส (Pelecanus
philippensis) |
นักสัตวศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องจำแนกสัตว์ต่างๆ
เหล่านี้ออกจากกัน ให้ละเอียดมากที่สุด เท่าที่จะสามารถกระทำได้
เพราะจำเป็นจะต้องศึกษาสัตว์ต่างๆ อยู่เสมอ
การนำชื่อสามัญซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ ประจำท้องถิ่นต่างๆ
มาใช้เป็นชื่อสากลนั้น อาจทำให้ เกิดปัญหาได้
เพราะแต่ละถิ่นมีภาษาใช้เรียกสัตว์ แต่ละชนิดต่างกันไป
และเนื่องจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้น
จำเป็นต้องใช้ความละเอียดเป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงได้มีการวางหลักเกณฑ์ในการจัดหมวด หมู่และการตั้งชื่อสัตว์ต่างๆ
ให้รัดกุม เพื่อให้ชื่อเหล่านี้ เป็นชื่อสากล
และเป็นที่ยอมรับโดยนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ |

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน | วิชาอนุกรมวิธานสัตว์
(animal taxonomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาชีววิทยา
ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกสัตว์ต่างๆ ในโลกนี้ออกเป็นพวก เป็นหมวดหมู่
นักวิทยาศาสตร์ท่านแรกที่ได้ริเริ่มการจำแนกสิ่งมี
ชีวิตออกเป็นหมวดหมู่นั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์สาขา พืช
หรือที่เรียกกันในทุกวันนี้ว่า นักพฤกษศาสตร์ ชื่อเดอ แคนโดลลี (De
Candolle) จุดประสงค์ของ ท่านผู้นี้ก็คือการแยกพืชต่างๆ
ที่ได้รวบรวมไว้ออก เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการศึกษาและ ค้นคว้า
ต่อมาภายหลัง นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ หรือนักสัตวศาสตร์
ได้ทดลองนำไปใช้จำแนกชนิดสัตว์ต่างๆ ดูบ้าง เห็นว่าได้ผลดี
จึงได้มีผู้นิยมใช้การจำแนกสัตว์แบบของแคนโดลลีกันอย่างแพร่หลาย |
วัตถุประสงค์ในการศึกษาอนุกรมวิธานสัตว์
ในสมัยปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตกว้างออกไปอีก โดยมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการคือ
ประการที่หนึ่ง มุ่งที่จะหาวิธีจำแนกสัตว์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่
โดยมีลักษณะหรือวิธีการที่จะใช้จดจำสัตว์แต่ละตัว ได้ง่าย ประการที่สอง
เพื่อที่จะพัฒนาหาวิธีอัน เหมาะสมสำหรับการจัดอนุกรมวิธานสัตว์ โดยเฉพาะ
พวกที่จะใช้เป็นตัวอย่างอ้างอิง และประการสุดท้าย เพื่อจะหาวิธีการ
ทำให้การจัดอนุกรมวิธานสัตว์ มีความหมายและถูกต้องอย่างสมบูรณ์
นั่นคือสัตว์พวกใด เหล่าใด มีความใกล้ชิดกันตามสายเลือด
ก็ควรจะจัดให้อยู่ด้วยกัน และในทางตรงกันข้าม พวกใด เหล่าใด
ที่มีบรรพบุรุษห่างกันก็จะถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ห่างกันออกไปด้วย
ความคิดประการหลังนี้
มีขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการประกาศทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน
(Charles Robert Darwin ค.ศ. ๑๘๐๙ - ๑๘๘๒, นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ)
เป็นต้นมา
การจัดอนุกรมวิธานสัตว์ในสมัยก่อน
ยึดหลักทางกายวิภาคของตัวแก่เต็มวัยเป็นสำคัญ
พร้อมทั้งพิจารณาถึงประวัติความเป็นมา ของตัวอ่อนประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม
ปัจจัยอื่น เช่น การแพร่กระจายของสัตว์และฟอสซิล (fossil)
ที่ตกค้างอยู่ในหิน
ก็เป็นเครื่องช่วยให้ศึกษาถึงความเกี่ยวข้องระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ
ที่ยังมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันนี้ได้ ดังนั้น
การจัดอนุกรมวิธานสัตว์ ในยุคปัจจุบัน นอกจากจะอาศัยหลักฐานดังกล่าว
ยังมีการนำความรู้ทางวิชาสรีรวิทยา นิเวศวิทยา พันธุศาสตร์ ฯลฯ
มาเป็นหลักในการแบ่งอีกด้วย
|