หัวข้อหลักในการจำแนกสัตว์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 2
เล่มที่ ๒
เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์
เรื่องที่ ๒ เวลา
เรื่องที่ ๓ บรรยากาศ
เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ
เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๖ อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส
เรื่องที่ ๗ มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย
เรื่องที่ ๘ การศึกษา
เรื่องที่ ๙ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๑๐ ตราไปรษณียากรไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์ / หัวข้อหลักในการจำแนกสัตว์

 หัวข้อหลักในการจำแนกสัตว์
หัวข้อหลักในการจำแนกสัตว์

นักอนุกรมวิธานจะต้องเข้าใจหัวข้อต่างๆ ที่ใช้ กันอยู่ทั่วไปในอาณาจักรสัตว์เสียก่อน ทั้งนี้เพราะ การจำแนกสัตว์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ จำเป็นจะต้อง ดำเนินตามหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

คิงดอม (kingdom)
ไฟลัม (phylum)
สับไฟลัม (subphylum)
ซุเปอร์คลาส (superclass)
คลาส (class)
สับคลาส (subclass)
โคฮอร์ต (cohort)
ซุเปอร์ออร์เดอร์ (superorder)
ออร์เดอร์ (order)
สับออร์เดอร์ (suborder)
ซุเปอร์แฟมิลี (superfamily)
แฟมิลี (family)
สับแฟมิลี (subfamily)
ไทรบ์ (tribe)
จีนัส (genus)
สับจีนัส (subgenus)
สปีซี (species)
สับสปีซี (subspecies)
อาณาจักร
ไฟลัม
ไฟลัมย่อย
เหนือชั้น
ชั้น
ชั้นย่อย
หมู่
อันดับย่อย
อันดับ
อันดับย่อย
เหนือวงศ์
วงศ์
วงศ์ย่อย
เหล่า
สกุล
สกุลย่อย
ชนิด
ชนิดย่อย

ในบางโอกาสคำว่า "ชนิดย่อย" อาจจะถูกแทน ด้วยคำว่า "พรรณ" (varieties) ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว คำว่าชนิดย่อยและพรรณนั้น เป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน คือบอกให้ทราบว่าสัตว์ชนิดหนึ่งมี ลักษณะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะที่แตก ต่างนี้เป็นลักษณะที่เด่นชัด มองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยทั่วๆ ไป ถ้าหากว่าสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่ในบริเวณ เดียวกัน นักอนุกรมวิธานจะใช้คำว่า "พรรณ" แทน ส่วนคำว่า "ชนิดย่อย" นั้นมักจะใช้สำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่ห่างกันออกไป และถ้าโอกาสอำนวย ก็อาจจะผสมพันธุ์มีลูกหลานได้เป็นปกติ นักอนุกรมวิธานจึงถือว่า "ชนิด" เป็นหน่วยเล็กที่สุดในอนุกรมวิธานสัตว์

สมมุติฐานแสดงแผนผังความสัมพันธ์ของไฟลัมสัตว์ต่าง ๆ ตามแบบของลิบบี เฮนไรต์ทาไฮแมน
(Libbie Henrietta Hyman, ค.ศ. ๑๙๔๐)
ชนิด

คำว่า "ชนิด" นั้น ในวิชาอนุกรมวิธานหมายถึง กลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งในธรรมชาติ ที่สามารถจะสืบพันธุ์ในกลุ่มเดียวกันได้โดยอิสระ และลูกหลานที่ออกมาจะไม่เป็นหมัน

คำจำกัดความนี้ได้ยึดถือความสามารถในการ สืบพันธุ์เป็นหลักสำคัญ ซึ่งในทางปฏิบัติจริงๆ แล้ว ค่อนข้างลำบาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าในการศึกษา "ชนิด" ต่างๆ ในธรรมชาตินั้น นักวิทยาศาสตร์ จะเก็บเอาตัวอย่างสัตว์มา และศึกษาลักษณะรูปร่าง ตลอดจนลักษณะภายนอกอื่นๆ ของสัตว์เหล่านั้น โดย มิได้คำนึงถึงสัตว์ชนิดนั้นๆ จะผสมพันธุ์กันได้หรือ ไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ การจำแนกสัตว์ออกเป็น "ชนิด" ต่างๆ จึงมักก่อให้เกิดปัญหาโต้แย้งขึ้นบ่อยๆ ทั้งนี้ เพราะความแตกต่างของลักษณะรูปร่างของสัตว์ชนิด ต่างๆ นั้น อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการประกอบ กัน เช่น สภาวะแวดล้อมหรือความแตกต่างอันเนื่อง มาจากพันธุกรรม (heredity) ก็ได้

สกุล

คำว่า "สกุล" นั้นหมายถึงการรวมเอา "ชนิด" ต่างๆ ตั้งแต่หนึ่งชนิด หรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน ทั้งนี้โดยสมมุติเอาว่าชนิดต่างๆ เหล่านี้มีบรรพบุรุษร่วมกันอยู่

วงศ์

"วงศ์"
จัดได้ว่าเป็นขั้นสูงสุดของระบบการจำแนกสัตว์ที่เกี่ยวพันกับการตั้งชื่อแบบที่ใช้ "สกุล" และ "ชนิด" มาประกอบกัน ตัวอย่างพืชหรือสัตว์ที่ใช้เป็นแบบของ "วงศ์" นั้น สืบเนื่องมาจาก "สกุล" ใด "สกุล" หนึ่ง ซึ่งลักษณะเด่นของสกุลนั้น นำมาเป็นลักษณะสำคัญสำหรับตั้งเป็น "วงศ์" ขึ้น จากนั้นก็จะรวบรวมเอาสกุลต่าง ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หรือที่เชื่อว่าอาจมาจากสายบรรพบุรุษอันเดียวกัน มารวมเข้าเป็นหมู่ จัดเป็น "วงศ์" ขึ้น ดังนั้นวงศ์หนึ่งๆ อาจจะประกอบด้วย สกุลเพียงสกุลเดียว หรือหลายสกุลก็ได้

ในสมัยของลินเนียส เขาไม่นับว่า "วงศ์" เป็นหน่วยหนึ่งทางอนุกรมวิธาน แต่ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่า "สกุล" ของเขาได้รับการยกขึ้นเป็นวงศ์เป็นจำนวนมาก แสดงว่า บางสกุลของลินเนียส มีความสำคัญพอที่จะจัดเป็น "วงศ์" ได้เป็นอย่างดี

อันดับ ชั้น และไฟลัม

หัวข้อของการจำแนกสัตว์ในขั้นสูงตั้งแต่ "อันดับ" ขึ้นไป ไม่มีความสัมพันธ์กับรูปร่าง หรือลักษณะของ "สกุล" หรือ "ชนิด" หัวข้อทั้งสามนี้ มีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง จึงมีการแก้ไขน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีอยู่บ้างเหมือนกันที่มีการตั้ง "อันดับ" "ชั้น" และแม้แต่ "ไฟลัม" ขึ้นใหม่

"อันดับ" "ชั้น" และ "ไฟลัม" นั้นตั้งขึ้น โดยยึดหลักโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันของสัตว์ เป็นสำคัญ สัตว์ในอันดันเดียวกัน ชั้นเดียวกัน และไฟลัมเดียวกัน อาจแพร่กระจายอาศัยอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก และมักจะมีการปรับตัวเอง ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
จำแนกไฟลัมของสัตว์ที่พบในยุคปัจจุบัน ตามแบบของริชาร์ด อี แบล็ควีลเดอร์
(Richard E.Blackwelder, ค.ศ. ๑๙๖๓) อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)








หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป