กระบวนการพ่นสี - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 24
เล่มที่ ๒๔
เรื่องที่ ๑ วรรณคดีมรดก
เรื่องที่ ๒ ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒)
เรื่องที่ ๓ เมืองหลวงเก่าของไทย
เรื่องที่ ๔ การผลิตรถยนต์
เรื่องที่ ๕ การผลิตรถจักรยานยนต์
เรื่องที่ ๖ การผลิตปูนซีเมนต์
เรื่องที่ ๗ ปิโตรเลียมและการผลิต
เรื่องที่ ๘ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ
เรื่องที่ ๙ แผนพัฒนาประเทศ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๔ / เรื่องที่ ๕ การผลิตรถจักรยานยนต์ / กระบวนการพ่นสี

 กระบวนการพ่นสี
ชิ้นงานที่ผ่านการพ่นสีเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ชิ้นงานที่ผ่านการพ่นสีเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ชิ้นงานที่ผ่านการพ่นสีแล้วนำมาติดสติกเกอร์
ชิ้นงานที่ผ่านการพ่นสีแล้วนำมาติดสติกเกอร์
กระบวนการพ่นสี

องค์ประกอบในการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักร- ยานยนต์ มีรายละเอียดดังนี้

๑. ปืนและปั๊มดูดสี พ่นสี  : มีทั้งชนิดที่พ่นด้วยงาน และชนิดที่พ่นด้วยเครื่องพ่นอัตโนมัติ

๒. ปั๊มลม  : ต้องเป็นชนิดที่ขจัดน้ำมันออกจากลม เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวดันสีออกจากปืนพ่น ให้เป็นละออง (สเปรย์)

๓. โซ่หิ้วชิ้นงาน : เพื่อทำหน้าที่หิ้วไม้แขวนชิ้นงานเข้าไปในห้องพ่นสี ห้องอบสีให้แห้ง
วัสดุ : ทำด้วยโลหะเหล็กทนความร้อน

๔. ห้องพ่นสี : เป็นห้องสำหรับทำการพ่นสี ซึ่งจะมีสองห้องเรียงกันคือ ห้องพ่น สีรองพื้น และห้องพ่นสีจริง คุณสมบัติของห้องคือ จะต้องสามารถป้องกันฝุ่นและผง และควบคุมปริมาณอากาศเข้า-ออกอย่างสมดุลกัน มีม่านน้ำไว้ป้องกันไม่ให้ละอองสีเกาะติด มีช่องสำหรับให้ละอองสีถูกดูดออกไปภายนอก

๕. ห้องพักตัวชิ้นงาน  : เพื่อใช้เป็นห้องพักตัว หลังจากชิ้นงานถูกพ่นสีจากห้องพ่นสีแล้ว

๖. ห้องอบสี : เพื่อใช้อบสีให้แห้ง ซึ่ง ห้องดังกล่าวจะได้รับ พลังงานความร้อนจากก๊าซแอลพีจี โดยใช้อุณหภูมิในการอบ ๗๐ - ๗๕ องศาเซลเซียส สำหรับชิ้นงานพลาสติก และ ๑๒๐ - ๑๓๐ องศาเซลเซียส สำหรับชิ้นงานเหล็ก

๗. สี : มีใช้อยู่ ๓ ชนิด คือ สี Solid สี Metallic และสีทนความร้อน โดยทั้ง ๓ ชนิด เป็นสีชนิดที่ต้องผสมกับทินเนอร์

๘. น้ำยาผสมสี (ทินเนอร์)  : ใช้ผสมสีเพื่อให้สีมีความหนืดตามมาตรฐานที่กำหนด

๙. ชิ้นงาน : มีทั้งชิ้นงานพลาสติกและชิ้นงานเหล็ก

๑๐. ไม้แขวนชิ้นงาน  : ใช้สำหรับแขวนชิ้นงาน ซึ่งจะแขวนชิ้นงานได้จำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของชิ้นงาน

๑๑. ห้องล้างทำความสะอาดชิ้นงาน  : เป็นห้องสำหรับล้างชิ้นงานให้สะอาดปราศจาก ฝุ่นและไขมัน โดยใช้สารเคมีเป็นส่วนผสมกับน้ำ แล้วฉีดผ่านหัวฉีดพ่นไปบนชิ้นงาน

๑๒. ชุดจ่ายอากาศ  : เพื่อจ่ายอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าไปในห้องพ่นสี เพื่อทำให้ระบบการหมุนเวียนอากาศในห้องพ่นสีเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้

๑๓. ห้องติดสติกเกอร์  : เพื่อทำการติดสติกเกอร์สีสันต่างๆ บนชิ้นส่วนที่พ่นสีเสร็จแล้ว

๑๔. พนักงาน (Worker)  : ทำหน้าที่แขวนชิ้นงาน เป่าลม เช็ดทำความสะอาด ผสมสี พ่นสี ติดสติกเกอร์ ปลดชิ้นงานหลังจากที่อบแห้งแล้ว ตรวจสอบคุณภาพ เคลื่อนย้ายชิ้นงานไปยังจุดต่อไป

๑๕. มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ  : กำหนดวิธีการทำงาน และวิธีการตรวจสอบคุณภาพ

๑๖. รถเข็นใส่ชิ้นงาน  : สำหรับใส่ชิ้นงานหลัง จากพ่นสีเสร็จแล้ว และใช้ส่งชิ้นงาน

การผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ด้วยกระบวนการพ่นสี (Painting Process)

ชิ้นส่วนโลหะบางชนิดที่สำเร็จรูปจากกระบวนการเชื่อมแล้ว เช่น ตัวถังรถ ท่อไอเสีย ถังน้ำมัน รวมทั้งชิ้นส่วนพลาสติก เช่น ฝาครอบข้าง ฝาครอบหน้า ฝาครอบหลัง จะถูกนำมาเข้ากระบวนการพ่นสี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันสนิมและสร้างสีสันที่สวยงาม กระบวนการพ่นสีจะประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ หลายขั้นตอน โดยจะมีองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการดังที่กล่าวมาแล้ว

ขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการพ่นสี

ขั้นตอนที่ ๑: การแขวนชิ้นงานเข้ากับไม้แขวน

ขั้นตอนที่ ๒: การล้างทำความสะอาด ผิวของชิ้นงาน เพื่อทำ การกำจัดไขมัน และคราบน้ำมันที่ติดอยู่บนผิวออกให้หมดน้ำยาที่ใช้ล้างจะต้องมีการควบคุม อุณหภูมิ เพื่อประสิทธิภาพในการทำความสะอาด

ขั้นตอนที่ ๓: การเป่าลมเช็ดทำความ สะอาดชิ้นงาน เพื่อขจัดฝุ่นผงออกจากชิ้นงานให้หมด สำหรับ ชิ้นงานพลาสติก จะใช้น้ำยาพิเศษชุบผ้านุ่มเช็ดถูชิ้นงานเพื่อกำจัดไฟฟ้าสถิตในชิ้นงานพลาสติก

ขั้นตอนที่ ๔: การพ่นสี  พนักงานจะใช้ปืนพ่นสีสำหรับการพ่นสีรองพื้น และสีจริง แต่จะใช้เครื่องพ่นสีอัตโนมัติสำหรับชิ้นส่วนเหล็ก

ขั้นตอนที่ ๕: การตรวจสอบคุณภาพ  ตรวจสอบคุณภาพหลัง จากชิ้นงานผ่านออกมา จากห้องอบสี

ขั้นตอนที่ ๖: การติดสติกเกอร์ เพื่อความสวยงาม และความคงทนของสีผิว และทำการตรวจสอบคุณภาพขั้นสุดท้าย

ขั้นตอนที่ ๗: การจัดส่ง ชิ้นส่วนทุกชิ้น เมื่อเสร็จสิ้นจากกระบวนการพ่นสีแล้ว จะถูกนำส่งไปยังหน่วยงานประกอบรถสำเร็จรูป
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป