ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของทุเรียน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 28
เล่มที่ ๒๘
เรื่องที่ ๑ วัดไทย
เรื่องที่ ๒ ประชุมจารึก
วัดพระเชตุพน
เรื่องที่ ๓ ตลาด
เรื่องที่ ๔ ทุเรียน
เรื่องที่ ๕ เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
เรื่องที่ ๖ พิษภัยของบุหรี่
เรื่องที่ ๗ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เรื่องที่ ๘พลาสติกกับชีวิตในปัจจุบัน
เรื่องที่ ๙ แผ่นดินไหว
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๘ / เรื่องที่ ๔ ทุเรียน / ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของทุเรียน

 ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของทุเรียน
ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของทุเรียน

ในอดีต มีการปลูกทุเรียนพันธุ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ตามความนิยมของเกษตรกรแต่ละราย แต่เนื่องจากสภาวะที่ไม่แน่นอนของราคาผลิตผล และความนิยมของตลาด ทำให้เกษตรกรปลูกเฉพาะทุเรียนพันธุ์การค้า เพียงไม่กี่พันธุ์ และโค่นทำลายพันธุ์อื่นๆ ทิ้ง ปัจจุบันพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้า ได้แก่ พันธุ์ชะนี หมอนทอง ก้านยาว และกระดุมทอง

ทุเรียนพันธุ์การค้าที่นิยมปลูกต่างมีลักษณะเด่น ลักษณะด้อย และลักษณะแปรปรวนในตนเอง ทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานการผลิต มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรสวนทุเรียน และต่อจำนวนผู้บริโภค ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ



พันธุ์หมอนทอง
ลักษณะเด่น
ลักษณะด้อย
๑. เนื้อมาก (อัตราส่วนเนื้อ/ผล) ๑. การสุกไม่สม่ำเสมอในผลเดียวกัน
๒. เมล็ดลีบ ๒. เนื้อหยาบ
๓. กลิ่นอ่อน ๓. เนื้อสีเหลืองอ่อน
๔. งอมแล้วเนื้อไม่แฉะ ๔. ไม่ทนทานต่อโรคโคนเน่า รากเน่า
๕. การติดผลมาก  
๖. คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับ แปรรูป เช่น กวน แช่แข็ง  
๗. อาการแกน เต่าเผา หรือไส้ซึมน้อย  

พันธุ์ชะนี
ลักษณะเด่น
ลักษณะด้อย
๑. เนื้อสีเหลืองเข้ม ๑. อาการแกน เต่าเผา หรือไส้ซึมพบมาก
๒. เนื้อละเอียดเหนียว ๒. การติดผลไม่ดี
๓. การสุกของเนื้อในผลเดียว กัน สม่ำเสมอ ๓. งอมแล้วเนื้อแฉะ กลิ่นฉุน
๔. ทนทานต่อโรคโคนเน่า รากเน่า ๔. เนื้อมีเส้นใยมาก
  ๕. คุณภาพเนื้อ ไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับแปรรูป เช่น กวน แช่แข็ง

พันธุ์ก้านยาว
ลักษณะเด่น
ลักษณะด้อย
๑. เนื้อละเอียดเหนียว ๑. อาการไส้ซึมมาก เต่าเผาปาน กลาง
๒. เส้นใยของเนื้อน้อย ๒. หากไว้ผลมาก คุณภาพของผลจะไม่ดี และมีอาการกิ่งแห้งตาย
๓. ติดผลดี ๓. เมล็ดมีขนาดใหญ่ และมีจำนวนมาก
๔. สภาพเนื้อเมื่อสุก คงรูปน่ารับประทาน ๔. ไม่ทนทานต่อโรคโคนเน่า รากเน่า
๕. งอมแล้วเนื้อไม่แฉะ  
๖. สีเนื้อสม่ำเสมอ  
๗. อาการแกนมีน้อย  
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป