บายศรีภาคอีสาน
ประเพณีการสู่ขวัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ
เรื่องขวัญหรือจิตใจอันก่อให้เกิดกำลังใจที่ดีขึ้น
ชาวอีสานเห็นความสำคัญทางด้านจิตใจมาก ในการดำเนินชีวิตแต่ละช่วง
มักมีการสู่ขวัญควบคู่กันเสมอ จึงพบเห็นการสู่ขวัญทุกท้องถิ่นในภาคอีสาน
การสู่ขวัญ
เรียกอีกอย่างว่า การสูดขวัญ หรือการสูดขวน
เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่คน
หรือเสริมสิริมงคลแก่บ้านเรือน ล้อเลื่อน เกวียน วัว รถ เป็นต้น
การสู่ขวัญจึงเป็นพิธีกรรมหนึ่ง
ที่ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบำรุงขวัญถือเป็นการรวมสิริแห่งโภคทรัพย์
ในพิธีสู่ขวัญ
บางทีเรียกว่า พิธีบายศรี พิธีสูดขวัญ หรือบายศรีสู่ขวัญ
ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน และนิยมทำกัน แทบทุกโอกาส
จะมีการทำบายศรีประกอบในพิธี โดยเป็นบายศรีแบบดั้งเดิมหรือแบบประยุกต์
ซึ่งการทำบายศรีแบบประยุกต์นี้
จะทำตามจินตนาการของผู้ทำบายศรีให้เกิดความสวยงามวิจิตรพิสดารและสอดคล้องกับความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ
โดยชาวอีสานยังคงยึดถือและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน
บายศรีภาคอีสาน จำแนกได้ดังนี้
๑. บาศรี หรือพาขวัญ หรือพานบายศรี
เดิมเรียกว่า บาศรีสูดขวัญ เป็นพิธีที่เจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน
การจัดพาขวัญนี้นิยมจัดเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น พาขวัญ ๓
ชั้น ๕ ชั้น จัดสำหรับคนธรรมดาสามัญ ส่วน ๗
ชั้น ๙ ชั้น จัดสำหรับพระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ พาขวัญประกอบด้วย
|
บาศรี หรือพาขวัญ หรือพานบายศรี
|
ชั้นที่ ๑ (ชั้นบนสุด) ประกอบด้วย แม่ ๙
นิ้ว ทั้ง ๔ ทิศอาจแซมด้วยลายกนกทิพย์ หรือถ้าไม่มีตัวแซมจะใช้แม่ ๗ นิ้ว
ทั้ง ๗ ทิศ ชั้นที่ ๒ ประกอบด้วย แม่
๑๑ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๓ ประกอบด้วย แม่
๑๓ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๔ ประกอบด้วย แม่
๑๕ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๕ ประกอบด้วย แม่
๑๗ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๖ ประกอบด้วย แม่ ๑๙ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๗ ประกอบด้วย แม่
๒๑ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๘ ประกอบด้วย แม่
๒๓ นิ้ว ๗ ทิศ
ชั้นที่ ๙ ประกอบด้วย แม่ ๒๕ นิ้ว ๗ ทิศ
การทำพานบายศรีของภาคอีสานจะไม่นิยมประกอบบายศรีในลักษณะที่คว่ำลง
และมีขนาดใหญ่กว่าบายศรีปากชาม จัดทำใส่ในภาชนะที่ใหญ่มากขึ้น เช่น พาน
โตก พานบายศรีสู่ขวัญถือเป็นพานเบญจขันธ์ ประกอบด้วย รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ |
บาศรี หรือพาขวัญ หรือพานบายศรี
|
พิธีสู่ขวัญ
หรือพิธีสูดขวัญเป็นพิธีเก่าแก่ของชาวไทยทุกภาค
แม้จะจัดพิธีกรรมแตกต่างกันไป แต่ยึดหลักใหญ่ และจุดมุ่งหมายเดียวกัน
สำหรับชาวอีสานจะประกอบพิธีนี้ทุกงาน เช่น สูดขวัญเด็กแรกเกิด
ทำขวัญเดือนเด็ก สูดขวัญบวชเณร
บวชนาค สูดขวัญบ่าวสาว สูดขวัญรับขวัญผู้ที่ได้เลื่อนยศหรือเลื่อนตำแหน่ง
สูดขวัญส่งขวัญผู้เดินทางไกล
๒. ขันหมากเบ็ง
ประวัติความเป็นมาของขันหมากเบ็งนั้น
ผู้เฒ่าผู้แก่ทางภาคอีสานได้เล่าให้ฟังว่า แต่โบราณมีต้นหมากเบ็ง
ลักษณะเป็นพุ่ม และมีดอก
ชาวบ้านนิยมนำดอกหมากเบ็งมาสักการบูชาพระพุทธรูปตามถ้ำ
หรือตามบ้านเรือน ต่อมาต้นหมากเบ็งได้สูญพันธุ์
ชาวบ้านจึงได้คิดประดิษฐ์ขันหมากเบ็งใช้แทนต้นหมากเบ็งที่ได้สูญหายไป
ขันหมากเบ็งอีกความหมายหนึ่งคือ ทิศทั้ง ๔ ทิศที่มีเทวาธิราช ๔
พระองค์ทรงปกครอง ได้แก่ ธตรฐมหาราช
ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออก และมีอำนาจปกครองหมู่คนธรรพ์
วิรุฬหกมหาราช
ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศใต้ และมีอำนาจปกครองหมู่กุมภัณฑ์
วิรูปักษมหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตก
และมีอำนาจปกครองหมู่นาคา เวสสุวัณมหาราช ปกครองเทพนครที่ตั้งอยู่ทิศเหนือ
และมีอำนาจปกครองหมู่ยักษ์
|
ขันหมากเป้ง |
ขันหมากเบ็งจะนิยมทำถวายเป็นคู่ ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ดังนี้
๑. สักการบูชาพระพุทธรูป
๒. กราบไหว้บูชาครูบาอาจารย์
๓. พิธีสักการบูชาพ่อเมือง บรรพบุรุษของเมือง เพื่อเป็นสิริมงคล แก่บ้านเมือง และประชาชน
๔. พิธีบวช ผู้ที่จะบวชนำขันหมากเบ็งมาถวายสักการะพระอุปัชฌาย์ |
นับแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
ชาวอีสานถือว่าพิธีบายศรีเป็นพิธีมงคลสูงสุดกว่าพิธีใดๆ และจะทำพิธีบายศรี
เฉพาะเรื่องที่เป็นมงคลเท่านั้น ถ้าเป็นการทำพิธีบายศรีปูชนียสถาน
ปูชนียวัตถุ สัตว์ พืช สิ่งของ เรียกว่า บายศรีสมโภช
ถ้าทำบายศรีให้แก่บุคคลเรียกว่า บายศรีสู่ขวัญ
ผู้ที่ได้รับการบายศรีสู่ขวัญต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติและเป็นผู้ที่ให้ความเคารพนับถือยิ่ง
จึงได้มอบความเป็นมงคลสูงสุดให้
พิธีบายศรีสู่ขวัญของภาคอีสานมีองค์ประกอบของพิธีดังนี้
๑.
พานบายศรีหรือต้นบายศรี ทำด้วยใบตองดอกไม้สด
ปัจจุบันดัดแปลงเป็นผ้าแพร
กระดาษ และดอกไม้ประดิษฐ์แทน เพราะการทำด้วยใบตองดอกไม้สดเป็นภาระยุ่งยาก
ต้องใช้กำลังคนมาก และเก็บได้ไม่นาน เมื่อเย็บบายศรีแล้ว
จึงนำไปประกอบลงในโตก พาน หรือขัน ซ้อนกันเป็นชั้นๆ
แล้วประดับด้วยดอกไม้มงคล เช่น ดอกรัก ดอกบัว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกบานชื่น
ดอกดาวเรือง ดอกมะลิ หรือประกอบเป็นต้นบายศรี ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗
ชั้น และ ๙
ชั้น ตามฐานะ ยศ ตำแหน่ง ฐานันดรของบุคคลผู้รับการบายศรีสู่ขวัญ
๒. เครื่องสังเวย มีไก่ ไข่ไก่ อาหารคาว-หวาน สุรา ยาสูบ ผลไม้ มะพร้าวอ่อน ดอกไม้ธูปเทียน ขันห้า
๓. ด้ายผูกขวัญ (ผูกข้อมือ) ใช้ด้ายดิบสายสิญจน์
๔.
หมอสูดขวัญ (ไม่ใช่พราหมณ์) เป็นผู้อาวุโสคงแก่เรียนในท้องถิ่นนั้นๆ อาจเป็นหญิงหรือชายก็ได้ แต่ต้องมีพร้อมทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิ
๕. ผู้ฟ้อน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มเชิญบายศรี และกลุ่มฟ้อนเชิญขวัญ
๖. ผู้แห่ห้อม (ตู้มห่อ) คือ ชายหญิงผู้นั่งล้อมบายศรี เพื่อช่วยร้องเรียกขวัญในขณะทำพิธี
อนึ่ง
ผู้ประกอบพิธีผูกข้อมือต้องเป็นผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้อาวุโสชายหญิง
ส่วนเด็กและหนุ่มสาวจะเป็นบริวารรุมล้อมแห่ห้อม
ช่วยกันร้องเรียกขวัญเท่านั้น
ปัจจุบันจะเห็นว่า
บายศรียังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ส่วนในภาคใต้ไม่ค่อยนิยม และเริ่มลดความสำคัญลง |