
ผีเสื้อกลางวันเปรียบเทียบกับผีเสื้อกลางคืน |
๒. ลำตัวของผีเสื้อกลางวันค่อนข้างยาวเรียว เมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างของปีก และไม่ค่อยมีขนปกคลุม
เหมือนกับผีเสื้อกลางคืน ที่มีลำตัวอ้วนสั้น
|
๓. ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่จะออกบินเวลากลางวัน มี
เพียงบางพวกที่ออกหากินในตอนเช้ามืด และตอนใกล้ค่ำ
ผีเสื้อกลางคืนออกบินในตอนค่ำ ดังที่เรามักพบบินมาตอม แสงไฟตามบ้านเรือน
ผีเสื้อกลางคืนที่ออกหากินกลางวันมักมีสีฉูดฉาด คล้ายผีเสื้อกลางวัน |
 ผีเสื้อหนอนใบรักฟ้าใหญ่ เกาะพักแสดงให้เห็นใต้ปีก |
๔. การเชื่อมยึดปีกทั้งสองให้โบกไปพร้อมกันของผีเสื้อ
กลางวันต่างจากผีเสื้อกลางคืน โดยจะมีแผ่นปีกขยายกว้างออกซ้อนทาบกัน
แต่ในผีเสื้อกลางคืนมีขนแข็งจากโคนปีกคู่หลัง สอดเข้าไปเกี่ยวกับขอเล็กๆ
ตอนโคนปีกด้านใต้ของปีกคู่หน้า
(ยกเว้นผีเสื้อกลางวันชนิดหนึ่งในทวีปออสเตรเลีย) |
 การเกาะพักของผีเสื้อกลางคืน ปีกทั้งสองจะตกลงข้างตัวคล้ายกระโจม |
๕. การเกาะพักของผีเสื้อกลางวัน มักจะยกปีกตั้งตรง ขึ้นบนลำตัว
เห็นด้านใต้ของปีก ส่วนผีเสื้อกลางคืนจะวางปีก ราบลงกับพื้นที่เกาะ
โดยขอบปีกด้านหน้าตกลงข้างตัวต่ำกว่า ระดับของหลัง
ดูคล้ายรูปหน้าจั่วหลังคา และคลุมปีกคู่หลัง จนมิดหมด |
ลักษณะแตกต่างดังกล่าวมานี้ ไม่อาจใช้จำแนกผีเสื้อ ทุกชนิดได้โดยเด็ดขาด
เนื่องจากลักษณะและนิสัยต่างๆ มัก ปะปนกัน ทำให้มีข้อยกเว้นต่างๆมาก
แต่ก็เป็นข้อแตกต่างอย่าง กว้างๆ ที่จะช่วยให้คนทั่วไปแยกแมลง ๒
กลุ่มนี้ออกจากกันได้ พอสมควร |