ชีวิตของผีเสื้อ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 7
เล่มที่ ๗
เรื่องที่ ๑ กล้วยไม้
เรื่องที่ ๒ ผีเสื้อ
เรื่องที่ ๓ การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม
เรื่องที่ ๔ โรคพืช
เรื่องที่ ๕ ครั่ง
เรื่องที่ ๖ การเลี้ยงปลา
เรื่องที่ ๗ การชลประทาน
เรื่องที่ ๘ บ้านเรือนของเรา
เรื่องที่ ๙ โทรคมนาคม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๗ / เรื่องที่ ๒ ผีเสื้อ / ชีวิตของผีเสื้อ

 ชีวิตของผีเสื้อ
ชีวิตของผีเสื้อ

ชีวิตการเจริญเติบโตของผีเสื้อเป็นการเจริญเติบโตแบบ ครบ ๔ ขั้น (complete metamorphosis) เหมือนที่พบในพวกด้วง ผึ้ง และแมลงวัน โดยแยกออกเป็นระยะไข่ ระยะตัวหนอน ระยะดักแด้ และระยะตัวเต็มวัย ข้อดีของการเจริญเติบโตแบบนี้คือ การที่ตัวหนอนและตัวเต็มวัยกินอาหารกันคนละอย่าง ไม่มีปัญหาการแก่งแย่งอาหาร ทั้งยังอาศัยอยู่กันคนละที่ มีโอกาสรอดจากศัตรูธรรมชาติได้มากกว่าเมื่ออยู่รวมกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในบางระยะ เช่น ระยะไข่และระยะดักแด้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย และการขาดแคลนอาหาร ทำให้ผีเสื้อคงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ตลอดมา
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป