ระยะไข่ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 7
เล่มที่ ๗
เรื่องที่ ๑ กล้วยไม้
เรื่องที่ ๒ ผีเสื้อ
เรื่องที่ ๓ การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม
เรื่องที่ ๔ โรคพืช
เรื่องที่ ๕ ครั่ง
เรื่องที่ ๖ การเลี้ยงปลา
เรื่องที่ ๗ การชลประทาน
เรื่องที่ ๘ บ้านเรือนของเรา
เรื่องที่ ๙ โทรคมนาคม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๗ / เรื่องที่ ๒ ผีเสื้อ / ระยะไข่

 ระยะไข่
ระยะไข่

หลังจากผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้แล้วสักระยะหนึ่ง ไข่ที่มีอยู่จะได้รับการผสมพร้อมที่จะวางไข่ออกมา ตัวเมียจะเสาะหาพืชอาหารที่เหมาะสมกับตัวหนอน โดย การเกาะลงบริเวณใบพืช ทดสอบโดยการแตะด้วยปลายท้อง ถ้าไม่ใช่พืชที่ต้องการ ก็จะบินไปเรื่อยๆ จนพบ เมื่อพบแล้ว จะค่อยๆ ยืดส่วนท้องลงวางไข่ไว้ใต้ใบ แต่บางชนิดวางไข่ทางด้านหลังใบ ส่วนมากจะวางไข่ฟองเดียว พวกผีเสื้อตัวหนอนกินใบหญ้าจะปล่อยไข่ลงสู่ป่าหญ้าเลย ผีเสื้อกลางคืนที่วางไข่เป็นกลุ่ม บางครั้งมีขนจากลำตัวปกคลุมเอาไว้

ไข่ของผีเสื้อบางชนิด

ไข่ของผีเสื้อมีรูปร่างและสีแตกต่างกันตามวงศ์ จึงอาจบอกวงศ์ของมันได้ โดยการดูจากไข่ ผีเสื้อหนอนกะหล่ำมีไข่รูปร่างเหมือนขวดทรงสูงสีเหลืองหรือสีส้ม ผีเสื้อขาหน้าพู่ วางไข่รูปร่างเกือบกลม สีเขียว มีสันพาดตามยาว พวกที่ไข่รูปร่างกลมแบน สีขาว มีจุดดำตรงกลาง ได้แก่ พวกผีเสื้อ สีน้ำเงิน จุดดำดังกล่าวเป็นช่องที่เชื้อตัวผู้เข้าผสม เรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle) พวกผีเสื้อบินเร็วมีไข่หลายแบบ อาจจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือกลม โค้ง แบน คล้ายผีเสื้อหางติ่ง แต่ไข่ของผีเสื้อพวกหลังนี้สีเหลือง กลม และมีขนาดใหญ่กว่าผีเสื้ออื่นๆ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป