การลอกคราบ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 7
เล่มที่ ๗
เรื่องที่ ๑ กล้วยไม้
เรื่องที่ ๒ ผีเสื้อ
เรื่องที่ ๓ การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม
เรื่องที่ ๔ โรคพืช
เรื่องที่ ๕ ครั่ง
เรื่องที่ ๖ การเลี้ยงปลา
เรื่องที่ ๗ การชลประทาน
เรื่องที่ ๘ บ้านเรือนของเรา
เรื่องที่ ๙ โทรคมนาคม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๗ / เรื่องที่ ๒ ผีเสื้อ / การลอกคราบ

 การลอกคราบ
การลอกคราบ

หนอนจะเติบโตขึ้นได้ต้องมีการลอกคราบหลายครั้ง ส่วนมากผีเสื้อจะลอกคราบประมาณ ๔-๕ ครั้ง เหตุที่ต้องลอกคราบ เนื่องจาก ตัวหนอนมีผนังลำตัวหุ้มห่ออยู่ภายนอก เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะเติบโตคับผนังลำตัวที่ห่ออยู่ กรรมวิธีในการลอกคราบจะเริ่ม เมื่อหนอนชักใยยึดลำตัวไว้กับพื้นที่เกาะก่อนการลอกคราบราว ๒๔ ชั่วโมง ต่อมาผนังลำตัวจะปริแตกออกทางด้านหลังของหัว หนอนจะค่อยๆ คืบไปข้างหน้าอย่างช้าๆ จนหลุดออกจากคราบ ผนังลำตัวใหม่มีสีสดใสกว่าเก่า ตัวหนอน จะดูมีหัวโตกว่าส่วนลำตัว ระยะแรก มันจะอยู่นิ่งราว ๒-๓ ชั่วโมง จนกระทั่งผนังลำตัวและส่วนปากแข็งพอที่จะกัดใบพืชอาหารได้ ระยะนี้เป็นระยะที่อันตรายต่อตัวหนอนมาก เนื่องจากมันอยู่ในสภาพที่อ่อนแอป้องกันตัวเองไม่ได้
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป