ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ | ๑๙. วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)
เป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ปีกบาง ขนาดเล็กมากจน
ถึงขนาดปานกลาง สีและลวดลายมักคล้ายกันทั้งสองปีก เวลาเกาะกับพื้นจะแผ่ปีกแบนราบกับที่เกาะ หนอนได้ชื่อว่า "หนอนคืบ" เนื่องจากมันมีขาอยู่ตอนปลายสุดทางหัวและทางท้าย
เวลาเคลื่อนที่จึงใช้วิธีคืบไป หนอนมีสีและลวดลายใกล้เคียงกับพืชอาหาร เวลาตกใจจะยืดตัวตรง อยู่นิ่งเฉยเป็นเวลานาน เข้า
ดักแด้ในดินหรือในรังดักแด้ ที่ห่อเอาใบไม้มาติดกันไว้หลวมๆ
ชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือผีเสื้อหนอนกินใบเงาะ (Pingasa
ruginaria) |
๒๐.
วงศ์ผีเสื้อปีกขอ (Drepanidae)
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับผีเสื้อหนอนคืบมาก
แต่ส่วนมากจะมีมุมปลายปีกคู่หน้าโค้งงอ คล้ายตะขอ
หนามสำหรับเกี่ยวปีกเล็กมาก หรือไม่มีเลย ส่วนมากมีสีน้ำตาล
มีชุกชุมมากที่สุด ในบริเวณเอเชียเขตร้อน หนอนตัวเรียว
ตอนปลายตัวมีติ่งยื่นออกไป ติ่งนี้จะยกขึ้นมาได้ เข้าดักแด้ตามใบไม้บนดิน |
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อปีกขอ |
๒๑.
วงศ์ผีเสื้อหางยาว (Uraniidae)
พบในเขตร้อนทั่วโลก
ปีกกว้าง สีสวยงามมาก ส่วนมากมีหาง ยาวที่ปีกคู่หลัง
ส่วนมากออกหากินในเวลากลางวัน พวกที่ออกหากินกลางคืนจะมีสีออกเทา
เคยมีผู้พบว่า มีการบินอพยพมากเป็นพันตัว ชนิดที่พบบ่อยๆในประเทศไทย คือ Nyctalaemon
patroclus
๒๒.
วงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว
(Sphingidae)
ผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับปีก
หนวดพองออก ตอนปลายมีขอเล็กๆ บินได้เร็ว กระพือปีกถี่มาก
เวลากินน้ำหวานจากดอกไม้จะบินนิ่งอยู่กับที่ แล้วสอดงวงเข้าไปดูดกิน
เวลากลางวันเกาะพักนอนตามพุ่มไม้ และเปลือกไม้ ออกหากินตอนเย็น
และตอนใกล้ค่ำ หนอนมีลำตัว อ้วน เกลี้ยง สีเขียว หรือน้ำตาลเป็นส่วนมาก
ปลายตัวมีหนามยื่นยาวออกมา จึงได้ชื่อว่า "หนอนหงอน"
เวลาถูกรบกวนจะยกส่วนหน้าของลำตัวชูขึ้นมา เข้าดักแด้ในดิน ชนิดที่พบบ่อยๆ
ได้แก่ ผีเสื้อหนอนหงอนกาแฟ (Cephanodes hylas)
ผีเสื้อหัวกะโหลก (Acherontia styx) ที่มีลายรูปคล้าย
หัวกะโหลกบนลำตัว กินใบมันเทศ และยาสูบ หนอนแก้วยี่โถ
(Dielephisl nerii) กินใบยี่โถ และใบชวนชื่น |
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว |
๒๓.
วงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ (Noctuidae)
เป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาผีเสื้อทั้งหมด มีขนาดและ สีสันต่างๆ กันไป
ส่วนมากจะมีสีและลายบนปีกคู่หน้าต่างจากปีกคู่หลัง หนอนมักมีลายขีดตามยาว
รู้จักกันในชื่อ "หนอนกระทู้"
ทำลายกล้าข้าวและข้าวโพด ในเวลากลางวันซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน
ออกกัดกินกล้าพืชในเวลากลางคืน เช่น หนอนกระทู้ ฝักข้าวโพด (Heliothis
separata) หนอนกระทู้ข้าวกล้า (Spodoptera mauritia)
หนอนกระทู้อ้อย (Pseudaletia loreyi)หนอนกระทู้หอม (Laphygma
exigua)หนอนกระทู้ผัก (Prodenia litura)
บางชนิดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญในระยะตัวเต็มวัย เช่น
ผีเสื้อมวนหวาน (othreis fullonica)
ใช้งวงเจาะดูดน้ำหวานจากผลส้ม ทำให้ส้มร่วงเสียหายทีละมากๆ
|
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อปีกปม | ๒๔.
วงศ์ผีเสื้อปีกปม (Notodontidae)
วงศ์นี้มีแพร่กระจายทั่วโลก ขนาดปานกลาง มักมีปีกสี เทาหรือน้ำตาล
ปีกยาวเรียวปลายปีกมน ลำตัวยาวเลยปีกออกไปเวลาเกาะพัก
หนอนมีรูปร่างหลายแบบ เวลาถูกรบกวนจะ ยกส่วนหน้าและส่วนท้ายของลำตัวขึ้นมา
ขาคู่สุดท้ายของหนอนเสื่อมหายไปหมด หนอนบางชนิดอยู่กันเป็นกลุ่ม
เข้าดักแด้ใน รังดักแด้ที่ทำจากใบไม้แห้ง
ในประเทศไทยมีหลายชนิดที่เป็นศัตรูผลไม้ เช่น หนอนกินใบเงาะ (Dudusa
nobilis) หนอนกินใบมะขามเทศ (Stauropus alternus) |
๒๕.
วงศ์ผีเสื้อมอทป่า (Agaristidae)
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ปีกดำ
แต้มจุดและแถบสีแดง เหลือง และส้ม ออกหากินในเวลากลางวัน หนอนมีสีสด
และออกกินใบพืชในที่โล่งแจ้ง |
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อมอทป่า
|
๒๖.
วงศ์ผีเสื้อลายเสือ (Arctiidae)
พบอาศัยอยู่ทั่วโลก
มีชุกชุมในเขตร้อน ส่วนมากปีกสีอ่อน มีแต้มหรือจุดสีเข้มและสีฉูดฉาด
มีอวัยวะรับคลื่นเสียงของพวกค้างคาวได้
ทั้งยังสามารถปล่อยคลื่นออกรบกวนระบบเรดาร์ของค้างคาวได้อีกด้วย
เวลาถูกรบกวน จะทิ้งตัวลงนอนนิ่งบนพื้นดิน หนอนมีขนปกคลุมหนาแน่นมาก
ส่วนมากกินใบพืชจำพวกหญ้า ชนิดที่สำคัญ คือ บุ้งสีน้ำตาล ในสกุล Creatonotus
และชนิด Amsacta lactinea
ทำลายใบข้าวโพดชนิด Utetheisa pulchella ได้แก่
หนอนกินดอกต้นงวงช้าง
|
ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อลายเสือ |
๒๗.
วงศ์ผีเสื้อหญ้า (Euchromiidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีสีสดใส พบมากในเขตร้อน ขนาดเล็กถึง ขนาดกลาง
หากินในเวลากลางวัน ปีกมีสีคล้ายกับผีเสื้อลายเสือ
หนอนมีลักษณะคล้ายกับหนอนผีเสื้อลายเสือ เข้าดักแด้ในรังดักแด้
ที่ทำด้วยเส้นไหมและขนจากตัวหนอน โดยทั่วไปจะมีรูปร่างคล้าย กับพวกต่อแตน
หนอนกินพืชจำพวกหญ้าเป็นอาหาร
|