ปราสาทขอมและพัฒนาการในดินแดนไทย
ในการศึกษาศิลปะขอมในประเทศไทย ได้ใช้การเรียกชื่อศิลปะอย่างเดียวกับศิลปะขอมในประเทศกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งในการกำหนดอายุของปราสาทขอมนั้นได้แบ่งออกเป็น ๒ สมัยใหญ่ๆ ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๔) และสมัยเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๘) และแบ่งออกเป็นสมัยย่อยเรียกเป็นชื่อศิลปะแบบต่างๆ รวม ๑๔ แบบ ดังนี้
ก. สมัยก่อนเมืองพระนคร
๑. ศิลปะแบบพนมดา ราว พ.ศ. ๑๑๐๐ - ๑๑๕๐
๒. ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ - ๑๒๐๐
๓. ศิลปะแบบไพรกเมง ราว พ.ศ. ๑๑๘๐ - ๑๒๕๐
๔. ศิลปะแบบกำพงพระ ราว พ.ศ. ๑๒๕๐ - ๑๓๕๐
ข. สมัยเมืองพระนคร
๕. ศิลปะแบบกุเลน ราว พ.ศ. ๑๓๗๐ - ๑๔๒๐
๖. ศิลปะแบบพระโค ราว พ.ศ. ๑๔๒๐ - ๑๔๔๐
๗. ศิลปะแบบบาแค็ง ราว พ.ศ. ๑๔๔๐ - ๑๔๗๐
๘. ศิลปะแบบเกาะแกร์ ราว พ.ศ. ๑๔๖๕ - ๑๔๙๐
๙. ศิลปะแบบแปรรูป ราว พ.ศ. ๑๔๙๐ - ๑๕๑๐
๑๐. ศิลปะแบบบันทายสรี ราว พ.ศ. ๑๕๑๐ - ๑๕๕๐
๑๑. ศิลปะแบบคลัง (หรือเกลียง) ราว พ.ศ. ๑๕๕๐ - ๑๕๖๐
๑๒. ศิลปะแบบบาปวน ราว พ.ศ. ๑๕๖๐ - ๑๖๓๐
๑๓. ศิลปะแบบนครวัด ราว พ.ศ. ๑๖๕๐ - ๑๗๒๐
๑๔. ศิลปะแบบบายน ราว พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๘๐